ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 28, 2024, 02:35:39 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก

ข่าว: สมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย - Thaiprivatedent.com

+  thaiprivatedent.com
|-+  ห้องสำหรับทันตแพทย์
| |-+  พูดคุยสอบถามเรื่องทั่วไป
| | |-+  จำเป็น ต้องตรวจสอบ ถ่วงดุล การทำงาน ของทันตแพทยสภา
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: จำเป็น ต้องตรวจสอบ ถ่วงดุล การทำงาน ของทันตแพทยสภา  (อ่าน 5053 ครั้ง)
tpda
Global Moderator
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2009, 03:23:03 PM »

บทความโดย  ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี  กรรมการทันตแพทยสภา พ.ศ 2547-2550

ใน ข่าวสารของสมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2549



  ทันตแพทยสภา   คือ  องค์กรซึ่งจัดตั้งขึ้นและมีอำนาจตามกฏหมาย ที่ชื่อว่า พรบ. วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ 2537 มีอำนาจ หน้าที่อยู่ 2 ประการใหญ่ๆ ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน คือ

อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับวิชาชีพทันตแพทย์

และ อำนาจหน้าที่ในการดูแลประชาชน


ในการใช้อำนาจดังกล่าว ต้องใช้ผ่านมติของคณะกรรมการทันตแพทยสภา ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 30 คน หรือ ตามโครงสร้างที่กฏหมายอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นมา นายกทันตแพทยสภาหรือเลขาธิการทันตแพทยสภา ไม่มีอำนาจในตนเอง

คนจำนวน 30 คน นี้มีอำนาจครอบคลุมวิชาชีพทันตแพทย์ทั่วประเทศ
พวกเขามาจากการแต่งตั้ง 15 คนและมาจากการเลือกตั้ง 15 คน ในจำนวน 15 คนหลังนี้ สมาชิกทันตแพทย์จะมีโอกาสกำหนดบทบาทของเขาได้โดยการเลือกพวกเขาเข้าไป

ผลกระทบจากการใช้อำนาจของคณะกรรมการทันตแพทยสภามีอยู่หลายประการมากบ้างน้อยบ้าง แต่การใช้อำนาจนั้น ไม่ว่าจะเป็นอำนาจอะไรโดยหลักการระบอบประชาธิปไตยที่เราคุ้นเคย จำต้องมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล คัดคานไว้ มิให้เกิดกิเลสของคนที่มีอำนาจกำเริบเสิบสาน และใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2009, 03:24:47 PM โดย tpda » บันทึกการเข้า
tpda
Global Moderator
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2009, 03:24:27 PM »

แล้วการคัดคาน หรือ ถ่วงดุล การใช้อำนาจของคณะกรรมการทันตแพทยสภา ทำได้อย่างไร

ทำได้โดย ทันตแพทย์ ที่เป็นสมาชิก (แม้จะไม่ใช่การตรวจสอบ ถ่วงดุล ที่ทำได้มากนัก)

ใน พรบ.วิชาชีพทันตกรรม 2537 ระบุไว้ในมาตรา 13 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ ตาม(2) ว่า

?แสดงความเห็นเป็นหนังสือ เกี่ยวกับกิจการของทันตแพทยสภา ส่งไปยังกรรมการเพื่อพิจารณา และ ในกรณี ที่สมาชิกร่วมกัน ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใด ที่เกี่ยวกับกิจการของทันตแพทยสภา คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยไม่ชักช้า?

มีประเด็นตามข้อบัญญัติให้พิจารณา ไม่มากนัก กล่าวคือ

1) ความเห็นเกี่ยวกับกิจการของทันตแพทยสภา ซึ่งต้องตีความว่า มีเรื่องใดบ้างที่เป็นกิจการของทันตแพทยสภา ตรงนี้อาจดูได้จากมาตรา 8 และ มาตราในหมวด 3 4 และ 5 ของ พรบ.

2) กรณีที่สมาชิกมากกว่า 50 คนขึ้นไป คณะกรรมการต้องพิจารณาเรื่องนั้นซึ่งต้องนำเข้าไปเป็นวาระการประชุมประจำเดือนหรือการประชุมวิสามัญ และ ต้องตอบสมาชิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

การที่เลขาธิการ ต้องนำเรื่องของสมาชิกที่เสนอมา เข้าที่ประชุมก็ถูกบังคับโดยมาตรา 13(2) นี่แหละ จากนั้นต้องมีบันทึกในรายงานการประชุม และต้องตอบโดยไม่ชักช้าด้วย

สมาชิก สามารถถามและเสนอความเห็นได้ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆ ที่สภา กระทำ หรือ ไม่กระทำ  หากตอบไม่ชัดก็ถามอีก ถามอีก และ ถามอีก จนกว่าจะตอบได้อย่างชัดเจน
นี่คือ หนทางเดียว เท่าที่มีอยู่ตามกฏหมาย  ที่สมาชิกจะมีโอกาสตรวจสอบ ถ่วงดุล การใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการทันตแพทยสภา

ได้โปรดตรวจสอบ การใช้อำนาจ โดยใกล้ชิดเถอะครับ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ของวิชาชีพและประชาชนไทยทั้งมวล
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 03:56:11 PM »

เห็นด้วย ถูกต้อง....แล้วเริ่มกันรึยัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป:  



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
designed by จัดฟัน เชียงใหม่
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.142 วินาที กับ 20 คำสั่ง