ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 28, 2024, 05:42:03 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก

ข่าว: สมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย - Thaiprivatedent.com

+  thaiprivatedent.com
|-+  Miscellaneous Talk
| |-+  ห้องนั่งเล่น
| | |-+  นอนไม่หลับ 33 วิธีนี้ช่วยได้
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นอนไม่หลับ 33 วิธีนี้ช่วยได้  (อ่าน 6438 ครั้ง)
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2009, 08:55:25 PM »


1. อย่าเข้านอนเพราะว่า "ถึงเวลานอนแล้ว" แต่จงเชื่อนาฬิกาในตัวคุณเอง ถ้าดูไม่ออกว่าตอนไหน ขอให้รู้ไว้ว่าร่างกายจะสื่อให้ทราบเมื่อถึงเวลา แต่ทว่า มนุษย์เรา ไม่รู้ ความหมายอยู่บ่อย ๆ ซึ่งได้แก่ การหาวนอน อาการแสบตา ความรู้สึกประเภท "ลานหมด" หัวจะทิ่มลงท่าเดียว ส่วนหนังตา ก็หย่อน พาลจะหลับให้ได้?. ถ้ายังไม่รับ ทราบสัญญาณเหล่านี้ คุณก็จะพลาดรถไฟ สายเจ้าหญิงนิทรา และจะต้องรอไปอีกสองชั่วโมง จึงจะง่วงนอนอีกครั้ง เนื่องจากต่าง คนต่างก็มีช่วงจังหวะของตัวเอง จึงเปล่าประโยชน์ที่ คุณ จะเข้านอนแต่เนิ่น ๆ ถ้าคุณเป็นสมาชิกครอบครัว นอนดึก หรือรอจนดึกดื่น จึงเข้านอน ถ้าคุณเป็นพวกนอนหัวค่ำ

2. อย่านอนผิดเวลาทุกวัน คุณรับประทานอาหารประมาณเวลาเดิม ก็ขอให้เข้า นอน และ ตื่นนอนตามตารางเวลา เดิมเป็น ประจำด้วย มิฉะนั้นคุณก็เสี่ยง ที่จะง่วง นอนผิดเวลา

3. ทดลองหลับแว่บเดียว ทำเหมือนจิตรกรซัลวาดอร์ ดาลี ที่ดูเหมือนเป็น หนึ่งใน บรรดา ลูกสมุนของเทคนิค "แสงแว่บ" เรียกสติคืนมา นั่งบน เก้าอี้โซฟา มือถือ ช้อนชาคันหนึ่ง ตรงปลายเท้าของคุณวางจานโลหะ ไว้หนึ่งใบ เมื่อผล็อย หลับ มือก็จะปล่อยช้อนหล่นลงมาบนจานโลหะ ส่งเสียงดัง ซึ่งจะปลุกคุณให้ตื่น?. ในทางทฤษฎีถือว่า อาการของคุณปกติดี คำอธิบาย?.เมื่อหลับตา คุณตัดข้อมูล ไม่ให้เข้าสู่สมองได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ควรฝึกวันละหลายครั้ง

4. พักกลางคัน ถ้าคุณไม่สนใจพักแป๊ปเดียวเพื่อให้ตนเอง กระปรี้กระเปร่า ก็ใช้วิธีนี้ นั่งท่าสบาย ๆ อยู่ที่โต๊ะ ทำงาน ของคุณ หนุนศีรษะบนแขนที่ไขว้ กัน หรือนอนท่าเหยียด ยาว หลับตาและปล่อยตัวตามสบาย 5 นาที เพื่อผ่อนคลาย ง่าย ๆ

5. สะสมการนอน "ช่วงสั้น" ใน วันทำงาน คงยากที่ จะนั่งสัปหงกหน้าแป้นพิมพ์ คอมพิวเตอร์ตอน บ่ายอ่อน ๆ เก็บสะสมความอยากเอนหลังนาน ๆ เป็นชั่วโมง ครึ่งถึงสองชั่วโมง (ซึ่งเป็นหนึ่งวัฏจักรของการ นอนหลับพักผ่อน ที่เต็มอิ่ม) เอาไว้ชดเชยตอนบ่ายของวันสุดสัปดาห์ คุณจะได้พักผ่อนอย่าง อิ่มเอม ใช้หนี้ความเหนื่อยล้าตลอดสัปดาห์

6. บอกเลิกการตีเทนนิสหรือการออกกายบริหารที่ฟิตเนสทุกเย็นวันอังคาร นอกเสียจากว่าคุณไม่ กลัวนอนดึก การเล่นกีฬาตอนหัวค่ำยิ่งไม่เอื้อ ต่อการนอน เพราะทำให้ร่าง กายสดชื่นตื่นตัว แต่ก็อีกนั่นแหละ ต้องจับตาดูความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคน เพราะสิ่งที่ทำให้คนใกล้ตัว หลับบางที คือสิ่งที่กลับปลุกให้คุณตื่น

7. ลงมือฝึกชี่กง (ลมปราณ) ชี่กงเหมาะมากสำหรับสงบความคิดจิตใจ และขจัด ความอ่อนเพลีย ในไม่ช้าคุณจะเรียนรู้ที่จะทำท่าที่ชวนให้ง่วงนอนเป็น

8. รับประทานอาหารค่ำแต่หัวค่ำ คุณจะรู้สึกว่าเวลาช่วงค่ำยาวนานขึ้น ควรหลีก เลี่ยงการเข้านอน "ขณะยังย่อยอาหารอยู่" ปล่อยให้เวลาผ่านไป อย่างน้อย สอง ชั่วโมงหลังอาหารค่ำแล้วจึงค่อยนอน

9. ค้นพบความเพลิดเพลินและประโยชน์ของการเดินย่อยอาหารมื้อค่ำ

10. ละเว้นสารกระตุ้นต่าง ๆ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำชา?.ความจริง ที่มนุษย ์ส่วนใหญ่ยังคงละเลยอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีความสามารถจะรับและ มีปฏิกริยา โต้ตอบ พิเศษกับคาเฟอีนก็ตาม เพราะระบบเผาผลาญ บางคนต้อง ใช้เวลาสิบสอง ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงเพื่อกำจัดกาแฟเพียงถ้วยเดียว ไม่น่าแปลกใจ ที่คำว่า "kawa" หรือ "กาแฟ" ในภาษาอาหรับ หมายถึง "ตัวทำลายความง่วง"

11. จงหาว ถ้าเกิดง่วงนอนและมีอาการหาวบ่อย ๆ การบังคับตนเองให้หาว จะช่วย ผ่อนคลาย ได้และทำให้อยากนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า ได้ยืดแข้งยืดขาด้วย

12. ดื่มเครื่องดื่มชาสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการกล่อมประสาทอย่าง ชาคาโมมายล์ ลาเวนเดอร์?.จะช่วยให้นอนหลับได้

13. ลดปริมาณอาหาร และ กลูไซด์ (อินทรียสารในคาร์โบไฮเดรต) ตอนมื้อค่ำ หลีกเลี่ยงน้ำตาล ของหวานที่หวานจัด น้ำผึ้ง น้ำอัดลม?. เพราะเสี่ยงที่จะ เสริม ให้ โลหิตมี ปริมาณกลูโคสต่ำกว่าปกติในตอนกลางคืน

14. รับประทานแอปเปิ้ล ผักกาดหอม และผลิตภัณฑ์จากนม ตามความเชี่อที่ว่า อาหารเหล่า นี้เป็นเพื่อนกับความง่วง เพราะประกอบด้วยสารหลักใน ตัวยาที่ออกฤทธิ์ วิตามินและเอ็นไซม์ที่เป็นสื่อกลางช่วยให้ง่วงเหงาหาวนอน ควรเลือกผลิตภัณฑ ์จากนมที่ย่อยได้ง่ายที่สุด อย่างโยเกิร์ต (นมเปรี้ยว) นมข้น และเนยแข็งสีขาว ดีกว่าพวกเนยแข็งที่ ไขมันสูงและผ่านการหมักเชื้อ สำหรับอาหารค่ำ ควรเลือกอาหารจำพวกปลานึ่ง ผักนึ่ง และผลไม้ที่ย่อยง่าย เลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีไขมัน ผลิตภัณฑ์จากหมูเนื้อ เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส

15. ก่อนเข้านอนอย่าดื่มน้ำมากเกินไป แต่ให้ดื่มมาก ๆ ในระหว่างวันตั้งแต ่เวลา 18 นาฬิกาเป็นต้นไปจงลดการบริโภคของเหลว

16. ปกป้องตนเองให้พ้นจากเสียงรบกวนหาสำลีอุดหูหรือติดกระจกซ้อนสองชั้น ปูพรมตลอดห้อง ใช้เพดาน เก็บเสียง?.เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อม ทีเราใช้ ชีวิต อยู่มีส่วนในการลด ทอนคุณภาพการนอนได้

17. หัวเราะวันละหลาย ๆ ครั้ง การหัวเราะเป็นกิจกรรมตามธรรมชาติและ เกิดขึ้นเอง ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลของระบบประสาท สำหรับบางคน "หัวเราะนาทีเดียวมี ค่าเท่ากับการ ผ่อนคลายร่างกายสี่สิบห้านาทีเต็ม"

18. การพักผ่อนนอนหลับเป็นเรื่องใหญ่ ที่นอนเป็นเรื่องสำคัญ จงหันไปเลือก ฟูก ขนาด 160 คูณ 200 ซ.ม. กว้างขวางกว่าฟูกมาตรฐานขนาด 140 คูณ 190 ซ.ม. หรือ ไม่ก็ไปหาฟูกแบบอเมริกัน เลือกตามชอบใจว่าจะเป็น คิงไซส์ ขนาด 190 คูณ 200 ซ.ม. หรือแคลิฟอร์เนียนคิงไซส์ ขนาด 180 คูณ 210 ซ.ม.

19. เพื่อความสมดุลสงบ เวลานอนควรตรวจสอบทิศทางที่ถูกต้อง สำหรับการวาง เตียงนอน คือให้ศีรษะหันไปทางทิศเหนือ เท้าไปทางทิศใต้ตามทิศทาง ของคลื่นแม่ เหล็กโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่าให้ศีรษะหันไปทางทิศ ตะวันออก

20. ถ้าคุณต้องทาสีผนังห้องนอนใหม่ ขอให้ทราบด้วยว่าสีฟ้ากลาง ๆ เป็นสีสำหรับ การนอนที่ดีที่สุด

21. กรองแสงสว่างเหมือนกับการหรี่ศูนย์ความรู้สึดตื่นของเราค่อย ๆ หรี่จาก แสง สว่างจ้าให้มืดลงเรื่อย ๆ ลดไฟฟ้าในห้องนอนของคุณ หรือปิดตาสักครู่ ก่อน ดับไฟ คุณจะ ช่วยร่างกายให้ปฏิบัติหน้าที่ ง่ายขึ้นโดยช่วงเวลา เปลี่ยนแปลงคือ สองสามนาที และปฏิบัติกลับกันในตอนเช้า

22. ไม่ควรนำต้นไม้ใบเขียวไว้ในห้องนอน อย่างน้อยเวลากลางคืน หลีกเลี่ยง ไม่ให้ มาแย่งออกซิเจน

23. ใช้วารีบำบัด สปาบางแห่งเสนอวิธีบำบัดที่ช่วย ให้คุณค้นพบกุญแจ สำหรับการ นอนหลับใน
โปรแกรม ประกอบด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในสระว่ายน้ำ ที่ บรรจุน้ำทะเลอุ่น ๆ ตามด้วยเสียงดนตรีใต้น้ำ การแช่น้ำ ในอ่างจากุชซี่ที่ผสม หัวน้ำมันดอกลาเวนเดอร ์จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย

24. อย่าให้ห้องนอนของคุณร้อนเกินไป จะดีที่สุดให้อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส

25. ควบคุมการหายใจขณะตื่นอยู่ ร่างกายเพิ่มการหายใจในระดับทรวงอกเอง โดยสัญชาตญาณ จงหายใจเข้าช้า ๆ และลึก ๆ โดยใช้ท้องอย่างไม่ต้องฝืน และ ต่อเนื่องกันราบ รื่น หายใจออกแล้วหยุดไว้สองวินาที ก่อนหายใจใหม่ อีกครั้ง การหยุดช่วงสั้น ๆ นี้มีบทบาททำให้ระบบประสาทสงบลง ให้ปฏิบัติ การหายใจ ในท่านอนเหยียดยาว ก่อนนอน

26. นวดตัว โดยเน้นที่เท้า กลุ่มเส้นประสาท เส้นโลหิต หรือต่อมน้ำเหลือง ด้วยน้ำมันหอม ระเหยผสมลงไปในน้ำมันฐาน หรือครีมที่เป็นกลาง ถ้าชอบจะ เพิ่ม น้ำมันหอมระเหย (ดอกลาเวนเดอร์ ดอกมาร์จอแลน ดอกบาซิลิก หรือเนโรลี) โดยหยดผสมไปกับน้ำมันฐาน (น้ำมันหอม ระเหยมากที่สุด 5 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันฐานถ้าเป็นไปได้ ใช้ชนิด บริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามธรรมชาติ) เทคนิค อื่นในการคลาย เครียดได้แก่ การใช้ฝ่ามือทั้งสองนวด โดยกางนิ้วออก นวดศีรษะเบา ๆ ไล่จากคางขึ้น ไปถึงหน้าผาก แล้วย้อนกลับ ลง มาที่ท้ายทอย คุณนวดที่หางตาได้ ด้วยเช่นกัน

27. ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วิธีนี้ช่วยลดภาวะตึงเครียด สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ การนอนง่ายคือบังคับควบคุม ความรู้สึกของสายตาและ ไม่คิดอะไรอีกต่อไป ได้สำเร็จ ขณะ นอนหลับ สัมผัสทั้งห้าของเราถอดสายปลั๊ก ตามธรรมชาต ิเริ่มต้น จากการมอง การรับกลิ่น การรับรส การสัมผัส และสุดท้ายการได้ยิน

28. อาบน้ำร้อน โดยค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจาก 35 ถึง 39 องศาเซลเซียส การทำเช่นนี้มี ปฏิกริยากล่อมประสาทให้ง่วงนอน (สำหรับแปดในสิบหน) คุณสามารถเติมสมุนไพร สกัดลงในอ่างน้ำร้อนได้ แต่เพื่อความเพลิดเพลิน เท่านั้น เพราะมีเพียงความร้อนเท่านั้นที่ ทำปฏิกริยา คุณเพียงแต่แช่ เท้าใน น้ำร้อน ก็ได้ ซึ่งจะต่อเนื่องถึง อุณหภูมิของร่างกาย และมีผลผ่อนคลายกลุ่ม ร่างแหเส้นประสาท หรือเส้นโลหิต หรือหลอดน้ำเหลือง ให้ปฏิบัติ ก่อนเข้านอน

29. เพียงแค่วางมือทั้งสองข้างบนหน้าท้อง ความร้อนจากมือช่วยผ่อนคลาย อวัยวะภาย ในช่องท้องที่ ขวางการไหลเวียนพลังงาน

30. อย่าคาดหมายล่วงหน้า พยายามอย่านึกคิดล่วงหน้าถึง การนัดหมาย สำคัญทาง อาชีพการงานใน วันรุ่งขึ้น แนวคิดคือเข้านอนดึกด้วย ความกังวลจะทำให้ คุณหลับ ไม่ลง

31. ผ่อนคลายตัวเองด้วยการหลับตาและจินตนาการถึงการอาบน้ำ ฝักบัวเย็น ฉ่ำ ที่ราดรด ลงมาจาก ศีรษะแล้วไหลไปตามลำคอ นำพาความเครียดทั้งวัน ที่ผ่านมาให้ไหลไป ตามทางน้ำ หรือใช้วิธีหายใจลึก ๆ อย่างรู้สติเป็นชุด ๆ ผสานกับการคิดแต่ในแง่ดี ("ฉันยอมหลับอย่างวางใจ" "ฉันรู้สึกผ่อนคลาย เต็มที่")

32. สามชั่วโมงก่อนนอน บอกเลิกกิจกรรมทุกอย่างที่คร่ำเคร่งและใช้สติปัญญา หยุดอ่านหนังสือถ้ามัน จุดจินตนาการของคุณให้ทำงาน ผลักดันให้ฝันหรือ ใช้ความคิดใคร่ ครวญ

33. พยายามคอยสังเกตสิ่งที่คุณทำแล้วหลับได้สนิทดี จะได้นำมาใช้ใหม่ ในค่ำคืน ที่นอนไม่หลับสักที




ขอขอบคุณที่มา : http://heyhaparty.blogspot.com/2007/11/33_23.html

ขอให้นอนหลับฝันดีทุกท่านนะคะ จุ๊ฟๆๆๆ :16: :16: :16:
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 535


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2009, 09:31:24 PM »

อ่านจบ.... หลับ พอดี เลยคร๊าบบ  :4: :4: :4:
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2009, 09:39:05 PM »

กร๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆ สงสัยตาลายยย 5555 :3: :3: :3:
บันทึกการเข้า
ddspanya
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 341



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 11:08:07 AM »

ผมอ่านไปได้แค่ครึ่งเดียวก็ง่วงนอนแล้ว 

ปกติเป็นคนนอนหลับง่าย  พอศีรษะแตะหมอน ไม่กี่นาทีก็หลับ

ยกเว้นว่า ไปจิบชาจีนแก่ๆมาถ้วยเดียวมาครั้งหนึ่ง หลับตายังไงก็นอนไม่หลับ ตาค้างไปตลอดคืนถึงตีสี่ ตีห้าเลย กว่าจะหลับก็เช้าพอดี  ทำให้ไปทำงานสาย

มีอยู่วันหนึ่งปวดหลังมาก นอนท่าไหนก็ปวด ไม่ว่าจะนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับไปมาทั้งคืน ถึงเช้า ไม่ได้นอนเลยทั้งคืน  ขอคำแนะนำหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 11:11:22 AM »

ผมอ่านไปได้แค่ครึ่งเดียวก็ง่วงนอนแล้ว 

ปกติเป็นคนนอนหลับง่าย  พอศีรษะแตะหมอน ไม่กี่นาทีก็หลับ

ยกเว้นว่า ไปจิบชาจีนแก่ๆมาถ้วยเดียวมาครั้งหนึ่ง หลับตายังไงก็นอนไม่หลับ ตาค้างไปตลอดคืนถึงตีสี่ ตีห้าเลย กว่าจะหลับก็เช้าพอดี  ทำให้ไปทำงานสาย

มีอยู่วันหนึ่งปวดหลังมาก นอนท่าไหนก็ปวด ไม่ว่าจะนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับไปมาทั้งคืน ถึงเช้า ไม่ได้นอนเลยทั้งคืน  ขอคำแนะนำหน่อยครับ

555 สงสัยตาลายอีกคน

ส่วนอาการปวดหลังนี้  พี่ปัญญาลองอ่านและปฏิบัติตามนี้ดูนะคะ เผื่อจะดีขึ้นค่ะ

http://www.i-medipro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=82424&Ntype=5
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 11:25:03 AM »

ลักษณะทั่วไป
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่ม
สาวเป็นต้นไป   เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง และมักจะหายได้เอง แต่อาจเป็นๆ หาย ๆ 
เรื้อรังได้

สาเหตุ
มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน    หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง
ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลัง
ส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว   ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน   หรือ
หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้เช่นกัน

อาการ
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน
หรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ
จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น    โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มี
อาการผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร

การรักษา
1. สังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วแก้ไขเสีย เช่น ถ้าปวดหลังตอนตื่นนอน ก็อาจเกิดจากที่
    นอนนุ่มไป หรือนอนเตียงสปริง ก็แก้ไขโดยนอนบนที่แข็งและเรียบแทนถ้าปวดหลังตอนเย็น
    ก็มักจะเกิดจากการนั่งตัวงอตัวเอียง หรือใส่รองเท้าส้นสูง ก็พยายามนั่งให้ถูกท่า หรือเปลี่ยน
    เป็นรองเท้าธรรมดาแทน ถ้าอ้วนไป ควรพยายามลดน้ำหนัก
2. ถ้ามีอาการปวดมาก    ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก 
    สักครู่หนึ่งก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวด หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ได้ 
    ถ้าไม่หาย ก็ให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด     จะกินควบกับ
    ไดอะซีแพมขนาด 2 มก.ด้วยก็ได้
    ถ้ายังไม่หาย อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น เมโทคาร์บา มอล , คาริโซม่า ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำ
    ได้ทุก 6-8 ชั่วโมง   
    ผู้ป่วยควรนอนที่นอนแข็ง และหมั่นฝึก กายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
3. ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำ ผู้ป่วยไป
    โรงพยาบาล   อาจ ต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตาม สาเหตุที่พบ

ข้อแนะนำ
อาการปวดหลังแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในหมู่ชาวไร่ชาวนา กรรมกรที่ทำงานหนัก และใน
หมู่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ  ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นอาการของโรคไต โรคกษัย  และซื้อ
ยาชุด ยาแก้กษัย  หรือยาแก้โรคไต  กินอย่างผิด ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้  ดังนั้น
จึงควรแนะนำชาวบ้านเข้าใจถึง สาเหตุของอาการปวดหลัง  และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น
โดยทั่วไป การปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อมักจะปวดตรงกลางหลัง ส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง 
และอาจมีไข้สูง หนาวสั่น หรือปัสสาวะขุ่นหรือแดงร่วมด้วย

การป้องกัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยระวังรักษาท่านั่ง ท่ายืน ท่ายกของ ให้ถูกต้อง หมั่นออกกำลัง
กล้ามเนื้อหลังเป็นประจำ  และนอนบนที่นอนแข็ง

โรคปวดหลังป้องกันได้ไม่ยากBack pain 
โรคปวดหลังพบได้บ่อยรองจากโรคปวดหัว เมื่อคุณอายุมากอาจ จะต้อง
เผชิญกับโรคนี้ "คิดป้องกันตอนนี้จะได้ไม่เป็นโรคปวดหลัง"
สาเหตุของการปวดหลังนั้นมีมากมาย ขึ้นกับอายุของผู้ป่วย ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคน
ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการอักเสบของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณสันหลัง อาจเกิดจากการ
จัดท่าทางของร่างกายไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังงอ, เดินหลังโก่ง หรือยกของหนักผิดวิธี ฯลฯ
การรักษาจึงเป็นเพียงการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ แก้ปวด
การจัดท่าทางให้ถูกต้องและการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ก็จะเพียงพอ

ยังมีสาเหตุของการปวดหลังในวัยหนุ่มสาว และกลางคนที่พบได้ไม่น้อยเลยคือ
หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
ปวดตะโพก ส่วนใหญ่จะร้าวลงขา มีบางรายอาจจะไม่ร้าวลงถึงต้นขา แต่อาการปวดจะ
ยังคงอยู่แค่บริเวณตะโพกและหลังเท่านั้น ในรายเช่นนี้ อาการปวดมักจะเป็นมากขึ้น
เมื่อก้มหรือ ไอ , จาม และดีขึ้นเมื่อได้นอนราบ

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ สามารถวินิจฉัยได้จากการ
ซักถามประวัติและตรวจร่างกาย, มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการทำกายภาพบำบัด
ค่อนข้างดี มีบางส่วนเท่านั้นที่อาการไม่ดีขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรค ด้วยการ
เอ็กซเรย์พิเศษอาจจะเป็นการฉีดสีเข้าบริเวณไขสันหลัง (Myelogram) หรือการเอ็กซเรย์
คอมพิวเตอร์แม่เหล็ก (MRI) ก็ได้ เมื่อยืนยันการวินิจฉัยได้แล้ว ก็สามารถให้การรักษาในขั้น
ต่อไปได้ โดยอาจจะเป็นการฉีดยาเข้าบริเวณไขสันหลังหรือการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่
ทับเส้นประสาทนั้นออก

ส่วนในวัยสูงอายุ อาการปวดหลังมักมีสาเหตุจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง
เช่นกระดูกสันหลังงอกดทับเส้นประสาท หรือมีการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลังออกจาก
ตำแหน่งเดิม ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และเอ็กซเรย์
การรักษาเบื้องต้นก็ยังคงเป็นการรับประทานยา, ใส่เสื้อรัดเอว, ทำกายภาพบำบัดเสียก่อน
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้น ก็อาจจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดรักษา

สาเหตุอื่นๆส่วนน้อย ที่ทำให้มีอาการปวดหลังได้ ก็คือ ปวดจากการร้าวของอวัยวะของ
ช่องท้อง เช่น นิ่วที่ไต, ตับอ่อนอักเสบ ฯลฯ ซึ่งพบไม่บ่อยนัก จากประวัติอาการปวด, ตรวจ
ร่างกาย, เอ็กซเรย์

รวมถึงการตรวจทางห้องทดลอง (เลือด, ปัสสาวะ) ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้อง
พอสมควรอยู่แล้ว

สาเหตุ โรคปวดหลังนั้นมีมากมาย ได้แก่
โดยกำเนิด, อุบัติเหตุ, เนื้องอก, ติดเชื้อ, อักเสบ, โรคเมตาบอลิก, โรคในช่องท้อง, โรค
กระดูกสันหลังเสื่อม แต่สาเหตุที่เป็นกันมาก และ สามารถป้องกันรักษาได้ คือ โรคกระดูก
สันหลังเสื่อม น้ำหนักตัวมาก  ท่าทางไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายทำให้ลงพุง
เอวแอ่นมาก

คนที่ลงพุง น้ำหนักที่มากขึ้นคูณกับพุงที่ยื่นมาด้านหน้า ทำให้กล้ามเนื้อ หลังต้อง
ออกแรงดึง มากขึ้น การดึงเป็นเวลานานๆ ทำให้กระดูกสันหลัง เสื่อมเร็ว ทำให้ปวดหลังได้

ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หลังจะค่อมทำให้เอวแอ่นมากขึ้น การที่เอว แอ่นมากขึ้น ทำให้ช่อง
ทางออก ของเส้นประสาท แคบลง เส้นประสาท ถูกเบียดมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้ปวดหลัง
เอวแอ่นอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้ หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักไม่สมดุลย์กัน จึงเกิดการเสื่อม
ของหมอนรอง กระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมตามมา


การรักษา ที่ดีที่สุด คือ ป้องกันสาเหตุ ได้แก่

1. ลดน้ำหนักตัว ไม่ใช่การอดอาหาร แต่เป็นการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่งดเว้นการกินอาหาร
    ที่มีแคลอรี่สูง มากเกิน ความจำเป็น เช่น ดื่มน้ำหวาน
2. ท่าทางเหมาะสม
    ท่ายืน ที่ถูกต้อง คือ แขม่วท้องอกผายไหล่ผึ่งเอวแอ่นน้อยที่สุด ถ้าต้องยืนเป็นเวลานานควรมี
    ที่พักเท้า การยืนห่อไหล่พุงยื่น ทำให้เอวแอ่น มากปวดหลังได้
    ท่านั่ง ที่ถูกต้อง สันหลังตรงพิงพนัก เก้าอี้สูงพอดี และควรมีที่พักแขน การนั่งห่างจากโต๊ะ
    มากทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมาก ที่นั่งที่เหมาะสม ที่สุดในการพักผ่อน ควรเอียง 60 องศา
    จากแนวตั้ง มีส่วนหนุนหลัง มีที่วางแขน ทำด้วยวัสดุนุ่มแต่แน่น
    ท่านั่งขับรถ ที่ถูกต้อง หลังพิงพนัก เข่างอเหนือระดับสะโพก การนั่งห่างเกินไป ทำให้เข่าต้อง
    เหยียดออกกระดูกสันหลังตึง
    ท่ายกของ ที่ถูกต้อง ควรย่อตัว ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา การก้มลงหยิบของในลักษณะ 
    เข่าเหยียดตรง ทำให้ปวดหลังได้
    ท่าถือของ ที่ถูกต้องควรให้ชิดตัวที่สุด การถือของห่างจากลำตัว ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก
    ปวดหลังได้
    ท่าเข็นรถ ที่ถูกต้อง ควรดันไปข้างหน้า ออกแรงที่กล้ามท้อง การดึง ถอยหลังจะออกแรงที่กล้ามเนื้อ
    หลังเป็นเหตุให้ปวดหลัง
    ท่านอน ที่นอน ควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำ หรือเตียงสปริง เพราะหลัง จะจม
    อยู่ในแอ่ง ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น มากปวดหลังได้
          นอนคว่ำ จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
          นอนหงาย ทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่ หนุนใต้ โคนขา จะช่วยให้กระดูก
                           สันหลังไม่แอ่น
          นอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรให้ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอ สะโพก และเข่ากอดหมอนข้าง
3. การออกกำลังกาย
กระดูกสันหลังปกติรับน้ำหนักมากอาจหลุดได้ แต่นักกีฬายกน้ำหนัก ได้มาก เพราะมีกล้ามเนื้อท้อง
แข็งแรง เปรียบเสมือนมีลูกบอลคอยช่วย รับน้ำหนักไว้ การออกกำลังกายที่จำเป็นต้องทำเป็นประจำ


ปวดหลัง /Back pain:
จาก หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพคลีนิค ผู้ป่วยนอก ออร์โทบิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
จารุณี นันทวโนทยาน รวบรวม ร.ศ. นพ. วิเชียร เลาหเจริญสมบัติ ที่ปรีกษา

ปวดหลัง-ปวดเอว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน จากสถิติ มนุษย์ร้อยละ 80 เคยมี
ประสบการณ์การปวดหลัง-ปวดเอว อาการปวดจะแสดงได้ต่าง ๆ กัน บางท่านอาจปวดเฉพาะ
บริเวณหลังหรือกระเบนเหน็บ หรือบางท่านอาจปวดหลัง และร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง
สองข้างและมีอาการชาร่วมด้วยจนเดินไม่ได้ก็มี
หลังที่สมบูรณ์แข็งแรงจะยืดหยุ่นและไม่ปวดมีการทำงานของระบบโครงสร้าง คือ
กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกกล้ามเนื้อและเอ็นอย่างเหมาะสม และปกป้องอันตรายไม่ให้เกิด
กับประสาทไขสันหลัง

สาเหตุอาการปวดหลัง
1.) การใช้กิริยาท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้อง
2.) ความเสื่อมของกระดูกและข้อจากวัยที่สูงขึ้น
3.) ขาดการออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด
4.) ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น หลังคด หลังแอ่น
5.) การมีการอักเสบหรือติดเชื้อ เช่น วัณโรคของกระดูกสันหลัง
6.) การได้รับอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง
7.) การมีเนื้องอกของประสาทไขสันหลังหรือมะเร็งที่แพร่กระจายมายังกระดูกสันหลัง
8.) อาการปวดร้าวมายังหลังจากโรคของอวัยวะในระบบอื่น ๆ เช่นนิ่วในไต เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
9.) ปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียด และความวิตกกังวลในชีวิต

การป้องกันอาการปวดหลัง
1.) เรียนรู้การใช้กิริยาท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
2.) หลีกเหลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
3.) หลีกเหลี่ยงการใช้แรงงานมาก ๆ และรู้ถึงขีดจำกัดกำลังของตัวเองในการยกของหนัก
4.) ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวต้องรับน้ำหนักมาก โดย
     รับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับร่างกายให้ครบทุกประเภท
5.) บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ร่วมกับการออกกำลังกาย
     กลางแจ้ง เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ รำมวยจีน จะช่วยลดอาการปวดหลังจากการทำงาน
6.) ออกกำลังบริหารร่างกาย ป้องกันอาการปวดหลังอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบัน
      ยังไม่มีอาการปวดหลัง
7.) ปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือสังเกตุเห็นความผิดปกติ

การบริหารร่างกายป้องกันอาการปวดหลัง
1. ประโยชน์
1.1 ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวไม่เกร็ง และแข็งแรงอยู่เสมอ
1.2 กระดูกและข้อเสื่อมช้าลง

2. หลักการ
2.1 เป็นการออกกำลังบริหารร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หน้าท้อง หลัง
       ตะโพก และต้นขา และเพื่อยึดกล้ามเนื้อด้านหลังของหลังและขา
2.2 ควรออกกำลังบริหารด้วยความตั้งใจ ทำช้า ๆ ไม่หักโหม บริหารอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
       เช้า ? เย็น และในแต่ละท่าการบริหารทำประมาณ 10 ครั้ง
2.3 ท่าบริหารท่าใดท่าที่ทำแล้วมีอาการปวดหลังมากขึ้น ให้งดทำในท่านั้น ๆ

3. ท่าการบริหารป้องกันอาการปวดหลัง
ท่านเตรียมบริหาร
นอนหงายบนที่ราบ ศรีษะหนุนหมอน ขาเหยียดตรง มือวางข้างลำตัว

ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อด้านหลังของขา
เริ่มในท่าเตรียมบริหาร ตั้งเข่าข้างหนึ่งขึ้นและวางเท้าราบกับพื้น ส่วนขาอีกข้างหนึ่งเหยียดตรง
วางราบกับพื้น ยกขาที่เหยียดตรงนี้ขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่ยกได้ โดยแผ่นหลังแนบกับพื้นตลอดเวลา
ไม่เคลื่อนไหว แล้วจึงค่อย ๆ วางขานี้ลงราบกับพื้นเหมือนเดิม พักสักครู่ ทำประมาณ 10 ครั้ง
แล้วจึงสลับบริหารขากอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน

ท่าที่ 2 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและตะโพก และลดความแอ่น
ของหลัง
เริ่มในท่าเตรียมบริหาร ตั้งเข่าทั้งสองข้างขึ้น วางเท้าราบกับพื้น หายใจเข้าและออกช้า ๆ
พร้อมกับแขม่วหน้าท้อง กดหลังให้ติดแนบกับพื้น และเกร็งกล้ามเนื้อก้น [ขณะเกร็งกล้ามเนื้อก้น
ก้นจะยกลอยขึ้น] ทำค้างไว้นานนับ 1-5 หรือ 5 วินาที และจึงคล้าย พักสักครู่และทำใหม่ในลักษณะ
เดียวกัน 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 ยืดกล้ามเนื้อหลัง
เริ่มในท่าเตรียมบริหาร ตั้งเข่าทั้งสองข้างเอามือกอดเข่าเข้ามาให้ชิดอก และยกศรีษะเข้ามา
ให้คางชิดเข่า ทำค้างไว้นานนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ในลักษณะ
เดียวกัน ทำประมาณ 10 ครั้ง

ท่าที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อตะโพก
เริ่มในท่าเตรียมบริหาร เอามือกอดเข่าข้างหนึ่งเข้ามาให้ชิดอก พร้อมกับขาอีกข้างเหยียดตรง
เกร็งแนบกับพื้น ทำค้างไว้นานนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วจึง
สลับบริหารขาอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน

ท่าที่ 5 ยืดกล้ามเนื้อสีข้าง
เริ่มในท่าเตรียมบริหาร ตั้งเข่าข้างหนึ่งขึ้นหันเข้าด้านในของลำตัว พร้อมกับใช้สันเท้า
ของอีกขาหนึ่งกอดเข่าที่ตั้งให้ติดพื้น โดยที่ไหล่ทั้งสองข้างติดพื้นตลอดเวลา ทำค้างไว้
นานนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วจึงสลับ
บริหารขาอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน

สรุป
อาการปวดหลังสามารถป้องกันได้ในบางสาเหตุ ร่วมกับการบริหารร่างกายป้องกันอาการ
ปวดหลัง การรักษาในบางสาเหตุได้ผลมากน้อยเพียงไร ขึ้นกับปัจจัยส่งเสริมหลาย ๆ ประการ
การรักษาที่ถูกวิธีกับแพทย์เป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับท่าน ขอให้ท่านมีสุขภาพหลังที่แข็งแรงอยู่เสมอ
 
บันทึกการเข้า
ddspanya
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 341



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 11:25:42 AM »

ผมใช้ตำราบริหารร่างกายของนักกอล์ฟมาช่วย ยึดหลังในท่าบริหารต่างๆ ทั้งคืน ไม่หาย ไปหาหมอให้ยาแก้ปวด กินไป2-3 ครั้งหายไปนาน ยังไม่กลับมาปวดอีกเลย  ตอนไปหาหมอ โดนสั่งเอกซเรย์กระดูสันหลัง อุลตราซาวนด์บริเวณไตทั้งสองข้าง พบว่ามีนิ่วเล็กๆหลายก้อนอยู่ในท่อไต  หมอสั่งให้กระโดดเหย็งๆบ่อยๆ เพื่อให้ก้อนนิ่วขนาดเล็กๆค่อยเคลื่อนลงมาตามแรงโน้มถ่วง หวังว่าจะเคลื่อนตัวลงมาและขับออกมาเองตอนปัสสาวะ ไม่รู้ว่าออกไปเมื่อไหร่ ไม่รู้ตัว ตอนนี้ไม่ปวดหลังแล้วครับ :12:

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ  เป็นประโยชน์มากครับ   :16:
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 11:36:44 AM »

ขอบคุณที่นำประสบการณ์ตรงมาแบ่งปัน ช่นกันค่ะ

ส่วนเค้านะ ปวดหลังปวดเอว ปวดต้นคอ เคยทั้งนวด ทั้งกายภาพ ทั้งจัดกระดูก แต่ก็ยังไม่หายซักที
ตอนนี้ก็อาศัยการออกกำลังกายเล็กๆ และนวดผ่อนคลายบ่อยๆ ก็ช่วยได้บ้างค่ะ :6: :6:
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป:  



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
designed by จัดฟัน เชียงใหม่
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 21 คำสั่ง