ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 28, 2024, 02:36:23 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก

ข่าว: สมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย - Thaiprivatedent.com

+  thaiprivatedent.com
|-+  Miscellaneous Talk
| |-+  ห้องนั่งเล่น
| | |-+  หมดหวัง ท้อแท้ แพ้ชีวิต คิดอย่างไรให้ใจสู้ !
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หมดหวัง ท้อแท้ แพ้ชีวิต คิดอย่างไรให้ใจสู้ !  (อ่าน 3951 ครั้ง)
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2009, 09:28:10 PM »

  
                 หนุ่มสาวหลายคนอาจมีความทุกข์ อาทิเช่น " ช่วยทีเถอะ ทนไม่ไหวแล้ว ..พลาดหวังใน
ความรัก ตัดใจไม่ได้ " บางคนก็บอกว่า " ตัวเองเจอปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเป็นหนี้เป็นสิน  ปฏิบัติธรรม
ข้อไหนดีให้หมดหนี้เร็ว ๆ รู้สึกท้อแท้ใจมาก ทำไงดี " บ้างก็ปรับทุกข์ว่า "ตกงานมา ๒ ปีแล้ว ป่านนี้ยัง
หางานทำไม่ได้เลย รู้สึกว่าชีวิตตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ช่วยหางานให้ทำหน่อยดิ "
เป็นต้น เพราะเหตุใดสังคมไทยจึงเต็มไปด้วยปัญหาทำให้คนหนุ่มสาวคิดท้อแท้สิ้นหวังกันมากมาย แต่
สำหรับวันนี้ เราขอเสนอวิธีสร้างกำลังใจให้คนหนุ่มสาวสู้ชีวิตตามแนวทางพุทธศาสนาแด่คนหนุ่มสาว ด้วยวิธีคิด ๕ ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้


1.ให้รู้จักความทุกข์ของคุณให้ชัดเจน

                 คุณวิตกกังวล หรือ กลุ้มใจเรื่องอะไร ลองคิดดูให้ชัด ๆ คิดให้กระจ่างออกมาว่าคุณกำลัง
วิตกกังวลกับปัญหาเรื่องอะไรบ้าง ให้ใช้วิธีเขียนลงในไปกระดาษก็ได้ แจงออกมาให้เห็นเป็นข้อ ๆ  นี่
เป็นวิธีกำหนดรู้ตัวปัญหาให้ชัดเจน คือทำให้รู้ว่าเรากำลังมีปัญหาอะไรอยู่ในใจ ที่มันทำให้เราเกิดความ
ทุกข์อยู่ในขณะนี้ (การกำหนดรู้ความทุกข์ เป็นขั้นตอนแรกในอริยสัจ ๔ ภาษาพระท่านเรียกขั้นตอนนี้
ว่า "ปริญญา" ) คือให้รู้จักมันในฐานะตัวปัญหา ที่เรากำลังจะศึกษาเพื่อทำการแก้ไขต่อไป

                 ยกตัวอย่าง

               คุณติ่งศักดิ์รู้สึกแย่มากเลย ท้องใส้ปั่นป่วน ไม่สบายใจมาเป็นเดือนแล้ว กินเหล้าเป็นขวด ๆ
เพื่อให้หายกลุ้มกลับยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก แต่ต่อมาภายหลังคุณติ่งลองตั้งคำถามกับตนว่าตนเองมีทุกข์
เรื่องอะไร บ้าง ในที่สุดแกก็เขียนลำดับทุกข์ของแกออกมาเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

               ก. รถยังผ่อนไม่หมด เขากำลังจะยึดไปแล้ว
               ข. บริษัทกำลังมีนโยบายปลดพนักงาน รู้สึกกังวลว่าตนเองอาจจะโดนปลด
               ค. แฟนที่ดูใจกันมานาน ได้ข่าวว่ามีเสี่ยมาติดพัน หึงนะ

เป็นอันว่าสำเร็จในขั้นตอนแรก คือ คุณติ่งเห็นตัวปัญหาว่ามีทั้งหมด ๓ ข้อ ที่ทำให้แกเกิดความทุกข์มา
ตลอดเดือน

                 ในการแก้ไขปัญหา เราต้องรู้จักตัวปัญหาให้ชัดเจน ด้วยการกำหนดรู้ก่อน ไม่อย่างนั้นเรา
จะคลุมเครือ ไม่รู้ว่าตัวเองมีความทุกข์อะไรบ้าง (บางคนอาจจะมีปัญหาในใจเยอะ เป็น สิบ ๆ เรื่อง โดย
ไม่รู้ตัว ทำให้ทุกข์ใจ ทนไม่ไหว ถึงกับฆ่าตัวตายก็มี)


2. ให้คิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคดีอยู่เสมอ

                 หากคนเรายังรู้สึกถูกปัญหาบีบคั้นจิตใจอยู่ สภาพจิตจะไม่แจ่มใส ขุ่นมัว หมองเศร้า เป็น
อกุศล ทำให้สติปัญญาจะไม่สามารถทำงานได้โดยสะดวก การคิดว่าเรายังโชคดีอยู่เสมอ เป็นเทคนิค
คิดเร้ากุศล คือมองโลกในแง่ดี ทำให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากการบีบคั้นของปัญหา  มีสุขภาพจิตดี
พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่อไป ในขั้นตอนแรกของฝึกคิดมองโลกในแง่ดีนี้(อ่านตัวอย่างวิธีคิดแบบนี้ใน
พระไตรปิฎก เรื่อง พระพุทธเจ้าทดสอบความคิดพระปุณณะก่อนที่จะไปเผยแผ่ธรรมที่ สุนาปรัน-
ตชนบท) ท่านให้เราหัดพูดให้กำลังใจกับตนเองในทำนองว่า เรายังโชคดีที่ไม่พบกับเหตุการณ์ที่เลว
ร้ายไปกว่านี้ หรือ นี่เป็นโอกาสอันดีที่ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในอนาคต การบอกตัวเองว่า
ยังเป็นคนโชคดีเช่นนี้ จะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่น ปลื้มปีติยินดี พร้อมที่จะต่อสู้แก้ไขปัญหาสืบต่อไป
ไม่ท้อถอย ยกตัวอย่าง เมื่อคุณติ่งกำหนดรู้ปัญหาได้ชัดเจนแล้ว แกก็ใช้วิธีคิดขั้นที่สอง ทันที โดยแก
ได้พูดกับตัวเองออกมาดัง ๆ ว่า ( วิธีพูดให้กำลังใจตัวเองดัง ๆ เป็นอุบายที่ดี เพราะทำให้คิดได้ชัดเจน
และมีพลังมากขึ้น)

               ก. ถึงเราจะโดนยึดรถก็ไม่เป็นไร ยังดีที่บ้านเราไม่ได้โดนยึดไปด้วย เย้..โชคดี เรายังมี
บ้านอยู่
               ข. ถ้าเราโดนให้ออกจากงาน เราก็ยังโชคดีกว่าโดนไล่ออก บริษัทยังมีเงินจ่ายให้เรามา
เป็นทุนสำรอง เราจะได้มีเวลาพักผ่อน เตรียมวางแผนหางานทำใหม่
               ค. ถึงแฟนจะทิ้งเราไป ก็ถือว่าเราโชคดีอีกนั้นแหละ เพราะเราตอนนี้เรามีข้อมูลมากมาย ที่
จะสามารถหาคนที่ดีกว่านี้ได้อย่างแน่นอน เย้..! (ทั้งน้ำตา) เราโชคดีที่สุดในโลกเลย


3. คิดถึงคนอื่นที่ได้รับความทุกข์มากกว่าคุณ

                   หากคิดในขั้นตอนที่สองแล้ว ยังเอาไม่อยู่ เราก็สามารถใช้วิธีคิดขั้นตอนที่สามต่อไปได้
เลย คือ ให้คิดถึงคนอื่น ๆ ที่มีความทุกข์มากกว่าเรา เช่น คนอดอยากในเอธิโอเปีย ,  ชาวเขมรนับล้าน
คนที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ , คนจรจัดที่นอนใต้สพาน , คนจนที่ถูกแย่งที่ทำกินจนต้องมาอดข้าวประท้วงที่
กรุงเทพฯ ฯลฯ ให้พยายามนึกจินตนาการถึงความทุกข์ยากของคนเขาเหล่านั้น  แล้วนำมาเปรียบเทียบ
กับความทุกข์ของเรา เราจะเห็น ได้เลยว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว คนเป็นจำนวนมากเขาต้องเจอทุกข์
หนักหนากว่า เรามาก แทบจะเรียกได้ว่าทุกข์ของเรากลายบเป็นเรื่องขี้ผงไปเลย ทีนี้ถ้าขืนมานั่งท้อแท้
ใจ มันก็อายเขาแย่ ให้พูด ล้อตัวเองให้เกิดความละอายบ่อย ๆ จะช่วยได้มาก ( การสอนใจให้ตัวเอง
เกิดความละอายใจ เป็นเทคนิคป้องกันตนเองไม่ให้คิดไปในทางที่ผิด ๆ ตามหลักธรรมชุด "หิริ
โอตตัปปะ " ในพระไตรปิฎก)


4. สร้างกำลังใจตนเองให้สู้ชีวิต

                   แม้วิธีคิด 1- 3 ขั้นตอนที่ผ่านมา จะทำให้เราหายทุกข์ใจไปได้มาก แต่ถ้าปัญหาไม่ได้
รับการแก้ไข มันก็จะ สร้างความทุกข์ให้กับเราไปได้เรื่อยไป ดังนั้นเราจึงต้องก้าวเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ
คือ สร้างกำลังใจให้ตนเองในการ เผชิญหน้าต่อปัญหา เพื่อแก้ไขให้มันลุล่วงไปด้วยดี  เรือแตกกลาง
มหาสมุทร พระมหาชนกลอยคออยู่กลางมหาสมุทร แม้มองไม่เห็นฝั่ง ท่านยังใจสู้ เพียรว่ายน้ำมุ่งเข้า
หาฝั่ง เพื่อทำการงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้จงได้  โดยไม่หวาดหวั่น ไม่คิดหวังพึ่งใคร  ฉันใด  ชาว
พุทธไทย เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาแม้จะใหญ่โตเพียงไร  ก็มีจิตใจสู้ คิดแก้ไขให้มันลุล่วงไปให้จงได้
แม้ฉันนั้น คนไทยยุคนี้ต้องมีใจสู้เหมือนพระมหาชนกไม่อย่างนั้นเราคงจะต้องกลายเป็นผู้พ่ายแพ้ เสีย
ชื่อชาวพุทธแย่เลย วิธีปฎิบัติคือให้ใช้คำพูดปลุกใจตัวเองให้สู้อยู่เสมอ ถ้าจะให้ดี  เอากำปั้นทุบฝ่ามือ
สร้างความรู้สึก มั่นใจ สู้ตายถวายชีวิต ให้มันเกิดความเข้มแข็งขึ้นมา การที่เราคิดในใจเฉย ๆ ในขณะ
ที่จิตใจไม่เคยคิดสู้มาก่อน บางทีอาจจะไม่มีพลังใจพอที่จะคิดได้เอง ดังนั้นใช้วิธีพูดปลุกใจตัวเอง จึง
เป็นเทคนิคสร้างกำลังใจที่ดี หรือว่าง ๆ เราอาจจะไปหาอ่านชาดกในพระไตรปิฎกเรื่อง "พระมหาชนก"
เพื่อเป็นคาถาสู้ชีวิตประจำตัวก็ได้นะ

                   หลังจากที่มีใจสู้คิดแก้ไขปัญหาแล้ว จึงค่อยเข้าสู่กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาตาม
ลำดับต่อไป คือ เริ่มจากการคิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย คิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ
ออกมาให้ชัดแจ้ง จนสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน  ขั้นตอนสุดท้ายจึงกำหนดแนวทางในการ
ปฏิบัติ หรือ วางแผนให้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาสืบต่อไป(วิธีตามหลัก อริยสัจ 4 )



ขอขอบคุณที่มา : http://dhammavoice.blogspot.com/2007/07/blog-post_6834.html  
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2009, 09:28:29 PM โดย nantiya2007 » บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 05:52:06 PM »

หมั่นเจริญสติ และให้กำลังใจตนเอง ด้วยนะคะ  :6: :6:
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 535


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 05:55:09 PM »

ขอบคุณครับ :1:


* cfdd21a82797c3bf090a9f6575438a87_1203734262.gif (10.91 KB, 130x130 - ดู 537 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หมอนันทิยา
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 05:56:04 PM »

5555555555 ซาบซึ้งจนน้ำหูน้ำตาไหลพรากๆเลยเลยเหรอคร้า  :3: :3:
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป:  



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
designed by จัดฟัน เชียงใหม่
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 20 คำสั่ง