เมื่อวานไปร่วมประชุมวิชาการที่โคราชมา กว่างานจะเลิกก็ห้าโมงเย็น และกว่าจะเดินทางกลับถึงบ้านก็ทุ่มกว่าๆ ปวดหัวมากๆ โดยเฉพาะท้ายทอย ปวดตึงมาถึงต้นคอและไหล่ สงสัยจะเครียดมากๆ ง่วงก็ง่วง วันรุ่งขึ้นหมายถึงวันนี้ ช่วงเช้าก็ต้องบรรยายวิชการให้ครูพี่เลี้ยงอีก สไลด็ก็ยังไม่ได้เตรียม แต่ตาจะปิดแล้ว คงต้องนอนรีบอาบน้ำนอน พอเข้านอนก็นอนไม่หลับ รู้สึกเหมือนหนังตาข้างขวามันกระตุกและปวดต้นคอมาก แถมมีโทรศัทพ์มารบกวนเวลานอนอีก กว่าจะข่มตานอนได้ก็เกือนเที่ยงคืน ตื่นมาตอนเช้ามีอาการชาไปที่แขนข้างขวา ตกใจมากเลย ไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นอาการเริ่มต้นของ อาการอัมพฤกษ์หรือเปล่า สังเกตว่าในช่วงที่มีประจำเดือนมาอาจเป็นไปได้เหมที่จะมีลิ่มเลือดหลุดไหลไปตามกระแสโลหิตและไปอุดตันตามที่ต่างๆรวมทั้งสมองจึงทำให้มีอาการดังกล่าวหรือว่าเราคิดมากเกินไป... เลยทบทวนเรื่องของอาการโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Stroke) และนำมาฝากเพื่อนๆด้วย ........ หากท่านผู้รู้ทราบ ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นโรคที่สมองขาดออกซิเจนอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน หรือแตก ทำให้การทำงานของสมองส่วนต่างๆ ผิดปกติ
สมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมหน้าที่ต่างๆของร่างกาย หากสมองตายไปเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด พฤติกรรม และความจำ นอกจากนี้ยังทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายในส่วนที่สมองส่วนนั้นๆ ควบคุมอ่อนแรง ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจะเป็นมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสมองส่วนใดขาดเลือดไปเลี้ยง และขาดเลือดไปเลี้ยงมากน้อยขนาดใด ตัวอย่างเช่น หากสมองด้านหลังขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองหรือเห็นภาพ
และสมองมีหลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองที่มีเส้นเลือดตีบ หรือตันอาการที่พบได้แก่
1. แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก) ขยับตัวไม่ได้ซีกใดซีกหนึ่ง
2. ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก
3. พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา)
4. เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
5. มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง
เมื่อเกิดความเสียหายต่อเซลล์สมองบริเวณนั้น ๆ อาการต่าง ๆ ที่คนไข้เป็นอยู่จึงเกิดตามมา และโรคทุกโรคไม่ใช่อยู่ ๆ เพิ่งจะมาเป็น เช่นอยู่ดี ๆ พรุ่งนี้ก็จะเป็นอัมพฤต อัมพาต ไม่ใช่นะคะ มันมีการสะสม สะสมจากวัน-เป็นเดือน จากเดือน-เป็นปี ไม่ใช่อยู่ ๆ เส้นเลือดจะมาตีบเอาเมื่อวาน วันนี้หรือพรุ่งนี้ มันค่อย ๆ ตีบ ค่อย ๆ ตัน ตีบมากที่สุด จนเลือดไม่สามารถจะลำเลียงเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงสมองบริเวณนั้น ๆ ได้
ทำไมผู้ป่วยบางท่านจึงมีอาการ อ่อนแรงครึ่งซีก
ตามปกติแล้วสมองด้านขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย และสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา หากมีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน หรือแตก เกิดกับสมองด้านขวา ร่างกายซีกซ้ายของผู้ป่วยจะอ่อนแรง และในทางตรงข้าม หากมีการอุดตันหรือแตกของเส้นเลือดในสมองด้านซ้าย ร่างกายซีกขวาของผู้ป่วยก็จะอ่อนแรง
การฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์
การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยจะต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
จุดมุ่งหมายในการฟื้นฟูร่างกาย และการทำกายภาพบำบัด คือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกฝนทักษะต่างๆ และเพิ่มความมั่นใจ และทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
ควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เพราะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์
ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จากการวิจัยพบว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 2-5 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ น้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้การออกกกำลังกายยังช่วย ในการควบคุมความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการที่จะเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรทานผักผลไม้สดให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรรับประทานปลาเป็นประจำเพราะปลาจะมี omega-3 fatty acids ที่ช่วยลดการอุดตันของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานหากปล่อยให้น้ำตาลสูง โดยไม่ควบคุม เส้นเลือดจะแข็ง ตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ มากขึ้น