ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 28, 2024, 03:35:15 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก

ข่าว: สมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย - Thaiprivatedent.com

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ห้องสำหรับทันตแพทย์ / พูดคุยสอบถามเรื่องทั่วไป / "หมอ-รพ."ช็อก ! กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสธ. เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2010, 07:23:49 AM
"หมอ-รพ."ช็อก ! กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสธ. ลากหมอติดคุก-จ่ายค่าสินไหม โทษแรงกว่าในสหรัฐ
นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์" รายงานว่า  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในคอลัมน์ ถามตอบกับมีชัย ในเว็บไซต์ www.meechaithailand.com ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานวุฒิสมาชิก  ได้มีผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ได้ถามปัญหาข้อกฎหมายเรื่อง  พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่าง

"หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "   เปิดประเด็นว่า  เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปประชุมที่ส่วนกลาง ไปเห็น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับหนึ่ง เมื่ออ่านแล้วตกใจ คิดว่าอาจารย์มีชัย คงเคยเห็น สาระสำคัญ มีดังนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการ สาธารณสุข ฉบับ ที่ผู้เสีย หายเป็นผู้ร่าง ได้ผ่าน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่สภา ผู้แทนราษฎร เมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่ยังไม่ถูกนำ มาพิจารณาเนื่องจากเกิด   เหตุการณ์ไม่สงบทางการ เมืองใน กรุงเทพ เสียก่อน สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ

1. สถานพยาบาล ที่ถูกร้อง ได้แก่  โรงพยาบาลของรัฐ ทุกแห่ง ทุกกระทรวง ทบวงกรม  โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สถาน พยาบาล สถานีอนามัย (Lab และ ร้านขายยา น่าจะอยู่ใน ข่ายด้วย)
2. ผู้ให้บริการที่ถูกร้อง ได้ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอื่น ๆ
3. คณะกรรมการ มี 21 คน มี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กรรมการโดย ตำแหน่ง คือ ปลัด และอธิบดี หลายกระทรวง 6 คน ตัวแทน สถานพยาบาล   3 คน ตัวแทน NGO 8   คน ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพ แม้แต่คนเดียว และ เลขาฯ คือ อธิบดีกรมสนับสนุน และ เจ้าหน้าที่ 3 คน
4. ตัดสินถูกผิด ชี้ขาด โดย เสียงข้างมาก ไม่เอาความเห็นด้านวิชาการมาร่วม พิจารณา
5. กองทุนเงินชดเชย มาจาก    ?1. โอนมาจาก มาตรา 41 ของ สปสช.    2. สถานพยาบาลจ่ายสมทบ จะเพิ่มขึ้นอีกถ้าถูกร้องบ่อย   3. เงินอุดหนุนจากรัฐ บริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน นี้
6. ผู้เสียหาย ขอเงินชดเชย ได้ ใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ ว่ามีผลเสียต่อร่างกายจาก  การรักษา และขอได้อีกหลังจากนั้น ถ้าเกิด อาการใหม่ ไม่จำกัดครั้ง ใน 10 ปี
7. จ่ายเงินชดเชย ขั้นต้น ภายใน 7 วัน ขั้นต่อมา พิสูจน์ ถูกผิด และตัดสินแล้ว จ่ายใน 30 วัน
8. ถ้าผู้เสียหายพอใจ รับ เงิน และทำสัญญาประนี ประนอมยอมความ ถ้าไม่พอใจ มี 2 ทาง คือ อุทธรณ์ขอเงิน เพิ่ม ใน 30 วัน หรือ ฟ้องคดี อาญา แล้วขอรับเงินนี้ภาย หลังได้
9. ฟ้องคดีอาญา แล้วชนะ - ผู้ ร้อง จะได้    1. เอาผู้ให้ บริการเข้าคุก     2. ได้เงิน สินไหมทดแทนทางแพ่ง
 เอาหมอติดคุก  แรงกว่า สหรัฐ


ขณะที่ผู้ถูกร้อง จะได้    1. ติด คุก   2. จ่ายเงินสินไหมทดแทนทาง แพ่ง จำนวนมาก  ?3. ถูกยึดใบ ประกอบวิชาชีพ ทำงานไม่ ได้  4. ถูกให้ออกจาก ราชการ ผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีบำเหน็จบำนาญ  5. เข้า รับราชการอีกไม่ได้ เพราะ เคยถูกตัดสินคดีอาญา     ข้อ 3 ,  4 และ 5 มีผล อัตโนมัติ จาก การถูกตัดสินคดีอาญาผู้แพ้คดีและครอบครัวจาก การถูกฟ้องคดีอาญาเพียง ครั้งเดียว ก็ล้มละลาย ทั้งชีวิต   ใน ประเทศอินเดีย อังกฤษ อเมริกา และแคนนาดา ไม่มี การฟ้องคดีอาญาผู้ให้  บริการการรักษาช่วยชีวิต ผู้ป่วยมีเพียงฟ้องแพ่ง เท่านั้น

ร่างพ.ร.บ. ฉบับเต็ม เข้าดูได้ใน we b แพทย์สภา www.moph.go.th หรือ www.tmc.or.th ซึ่งจะมีฉบับร่างของ กระทรวงสาธารณสุขที่ทำมา 3 ปี รอเข้า ครม. ให้เปรียบ เทียบด้วย

" ..ผมในฐานะผู้ให้บริการอยู่ชนบทห่างไกลความเจริญ อยู่ด้วยความจริงใจต่อกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มาด้วยดีมาตลอด เห็นอกเห็นใจกันอยู่ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน...ถ้า  พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านบังคับใช้ ผมมิอาจคาดเดาเลยว่าความเป็นคนไทยที่เอื้ออารีต่อกันจะเป็นอย่างไร  การมีความคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งดีมาก แต่ควรเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย...ไม่เช่นนั้นจะเกิดมี พ.ร.บ..ฉบับผู้ให้บริการเป็นผู้ร่าง แล้วมันจะทะเลาะ ความปรองดองจะเกิดใด้อย่างไร....."

อาจารย์คิดว่าพอมีทางออกใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย (ดูเหมือนว่าผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอคติกับแพทย์และผู้ให้บริการมากเกินเหตุ)  ประเทศไทย เรากำลังจะปรองดองกันน่าจะมีทางออกที่ยอมรับกันได้บ้าง

มีชัย แนะ สภาวิชาชีพ ผลึกกำลังสู้

 นายมีชัย ตอบคำถาม ผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ว่า    สำหรับร่างกฎหมายที่เล่ามานั้น ผมไม่เคยเห็น ฟังจากที่คุณหมอเล่ามาก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย ทุกวันนี้คนไทยลอกเลียนแบบฝรั่งมามากขึ้นทุกวัน เมื่อลอกมาแล้วก็ทิ้งสิ่งดี ๆ ของคนไทย หรือบางทีก็เอามาแทนที่ความดีงามที่มีอยู่ แต่เวลาเอาของเขามานั้น ไม่ได้เอามาทั้งหมด หากแต่เอามาแต่เฉพาะส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับประโยชน์ บ้านเมืองจึงเสื่อมโทรมลงทุกที 

ที่สำคัญก็คือ เราไม่อาจพึ่งพาสภาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสภาก็มัวแต่ยุ่งกับการชิงไหวชิงพริบกันในทางการเมือง โดยไม่มีใครดูรายละเอียดของกฎหมายที่จะผ่านสภา ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ กฎหมายก็คงออกมาอย่างที่ NGO บางกลุ่มต้องการ เพราะสภาอาจนึกว่าการเอาใจกลุ่มคนเหล่านั้นจะทำให้ดูดี และได้คะแนนเสียง 

ดังนั้น ทางแก้ก็คือ สภาวิชาชีพทั้งหมด ควรจะหารือกันแล้วออกมาบอกว่าร่างกฎหมายนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรกับสังคมในอนาคต และต้องทำในลักษณะผนึกกำลังกันให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางทีรัฐบาลและสภาอาจจะรอบคอบมากขึ้นก็ได
2  ห้องสำหรับทันตแพทย์ / SUPPLIER พบ ทันตแพทย์ / Re: จำหน่าย เครื่อง OZO-DENT + ข้อมูลใหม่เพิ่มเติม เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 02:48:48 PM
ประกาศ รับสมัคร ทันตแพทย์ เข้าร่วมโครงการ
? การศึกษาวิจัยผลการใช้โอโซนทางทันตกรรม ?


วัตถุประสงค์
-   เพื่อศึกษาผลการใช้โอโซนในการรักษาโรคในช่องปาก และรวบรวม case report เพื่อนำเสนอเป็นผลงานวิจัยทางวิชาการของทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมโครงการเอง
-   เพื่อรณรงค์และสนับสนุนการรักษาทางทันตกรรมที่สะดวก เรียบง่าย ปลอดเชื้อ และลดการใช้ยา รวมถึงสารเคมีต่าง ๆ ที่ต้องสิ้นเปลืองจากการนำเข้าจากต่างประเทศ
-   เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนไทยทุกคนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และไม่หวาดกลัวต่อการทำฟันแบบเดิม ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.   ลดอัตราการเสี่ยงของการติดเชื้อจากการรักษาทั้งคนไข้ ทันตแพทย์ และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.   ลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางทันตกรรม
3.   ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
4.   ลดอัตราการรักษาคนไข้ซ้ำซ้อน  ที่อาจต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อันเนื่องมาจากการติดเชื้อ
5.   ลดภาวะการรักษาล้มเหลวอันเนื่องมาจากการติดเชื้อ

ประโยชน์ที่จะได้รับของผู้เข้าร่วมโครงการ
1.   ได้รับสิทธิในการซื้อเครื่อง ozo-dent ในราคาที่ถูกที่สุดเป็นพิเศษ ฟรีค่าอะไหล่ ฟรีค่าซ่อมบำรุง อัพเกรดซอฟร์แวร์ฟรี เป็นระยะเวลา 5 ปี
2.   ได้รับการบันทึกเพื่อเป็นเกียรติ ว่าเป็นทันตแพทย์รุ่นแรกที่บุกเบิกการใช้โอโซนทางทันตกรรมในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะได้ผลงานทางวิชาการเป็นของตนเอง
3.   สิทธิพิเศษที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารและเข้าอบรมทางวิชาการอันเกี่ยวเนื่องกับโอโซนทางทันตกรรมอย่างสม่ำเสมอ ในฐานะบุคคลระดับพิเศษ
4.   ได้รับส่วนลดพิเศษในการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติม

ท่านอาจเป็นบุคคลหนึ่งที่ร่วมเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ในการรักษาทางทันตกรรมของประเทศไทยหรือของโลกในอนาคต
รับสมัครเพียง 20 ท่าน เท่านั้น

สนใจเข้าร่วมโครงการ ติดต่อ ทพ.สงคราม  เวียงธีรวัฒน์ โทร.086-8626699,086-6362755
Email : [email protected]
3  ห้องสำหรับทันตแพทย์ / SUPPLIER พบ ทันตแพทย์ / Re: จำหน่าย เครื่อง OZO-DENT + ข้อมูลใหม่เพิ่มเติม เมื่อ: เมษายน 01, 2010, 07:18:42 AM
ตอนนี้มีคลีนิคที่เข้าร่วมใช้โอโซน 2 แห่งครับ ถ้าต้องการทราบข้อมูลหรือคุณสมบิติใด ๆ สอบถามได้นะครับ
คลีนิคบ้านฟันสวย อ.ชุุมแพ จ.ขอนแก่น 043-312422
อรพินท์ทันตคลีนิค อ.เมือง จ.นครราชสีมา 044-253200,044-263473 หรือ
http://thaidentoz.com
4  ห้องสำหรับทันตแพทย์ / พูดคุยสอบถามเรื่องทั่วไป / การใช้โอโซนในทางทันตกรรม เมื่อ: มีนาคม 02, 2010, 09:31:36 AM
การใช้โอโซนในทางทันตกรรม
ทันตแพทย์สงคราม เวียงธีรวัฒน์

การทำหัตถการทางทันตกรรมให้มีความปลอดเชื้อได้สูงสุด ถือเป็นปัจจัยหลักและสำคัญที่สุด ดังนั้นกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ให้ปราศจากเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  ในปัจจุบันการทำให้ปราศจากเชื้อมีหลายวิธี ที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปในคลินิคทันตกรรม จะใช้แอลกอฮอล์ 70%  ตู้อบความดันสูง และการแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์และเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการทำหัตถการทางทันตกรรม ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะอุปกรณ์และเครื่องมือเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ น้ำที่ใช้ในระบบล้าง  เครื่องปั๊มลม และสภาพของช่องปาก ดังนั้นหากมีวิธีการที่สามารถทำให้ปลอดเชื้อได้ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง น่าจะส่งผลให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด อันจะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้ป่วย
เราคงต้องยอมรับว่าการทำให้ปราศจากเชื้อยังคงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ อาทิ บริเวณจุดต่างๆของอุปกรณ์และเครื่องมือบางชนิดไม่ได้ถูกทำให้ปลอดเชื้อได้อย่างจริงจัง เช่น หัวกรอ  ทั้งชนิด aerator หรือ micro-motor และ triple syringe  ทั้งที่จัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยและเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำหัตการแต่ละครั้ง นอกจากนี้ จากผลรายงานการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขอเมริกา1 พบว่า ทุกครั้งที่ใช้ triple syringe เป่าน้ำหรือลม จะเกิดสูญญากาศภายในทำให้เกิดการดูดกลับได้เล็กน้อย และด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์เหล่านี้ที่ไม่สามารถนำเข้าตู้อบเพื่อฆ่าเชื้อได้เพราะจะทำให้เสียสภาพ ในทางปฏิบัติเพื่อทำให้ปลอดเชื้อ คลินิคส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ แอลกอฮอล์ 70% เช็ดทำความสะอาด แล้วพันหุ้มไว้แต่ภายนอกเท่านั้น แม้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ได้พยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อ  ในรูปสเปรย์ที่ผสมกับน้ำมันหล่อลื่นและสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ มาจำหน่ายในท้องตลาด แต่ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากค่อนข้างยุ่งยากต่อการใช้งาน และราคาแพงมาก
ความสะอาดของน้ำที่ใช้ในระบบล้างเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการติดเชื้อ  โดยทั่วไป จะใช้ทั้งจากน้ำประปาโดยตรง และผ่านเครื่องกรอง ความสะอาดของน้ำที่ใช้จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของคลอรีนเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำลายเชื้อทั่วไปได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น 
สำหรับระบบลม เนื่องจากเครื่องปั๊มลมทำงานโดยการอัดอากาศรอบตัวเครื่องเข้าไปเก็บไว้ในถังที่ทำมาจากวัสดุประเภทเหล็ก  เพื่อเตรียมระบบลมไว้ใช้สำหรับเป่าลมในช่องปาก  ความสะอาดของลมที่ได้จึงขึ้นอยู่กับอากาศที่อยู่ภายนอกบริเวณเครื่องปั๊มลม อย่างไรก็ตาม เครื่องปั๊มลมส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งไว้ในที่ห่างไกลเพื่อลดเสียงรบกวนและมักเป็นบริเวณที่อับชื้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราให้กับผู้ป่วย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ในช่องปากเอง ประกอบด้วยเชื้อโรคต่างๆมากมาย บางชนิดเป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคฟันผุ และการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน จึงเป็นการยากสำหรับการรักษาโรคที่ต้องการให้ปลอดเชื้อในระหว่างการทำหัตถการทางทันตกรรม เช่น การรักษาคลองรากฟัน การอุดฟัน การติดเชื้อจากการถอนฟัน การผ่าตัดภายในช่องปาก การอักเสบจากโรคปริทันต์  การรักษาดังกล่าวจึงต้องอาศัยกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน บางครั้งอาจต้องให้ยาต้านจุลชีพ(Antibiotic)กับผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลต่อการดื้อยาหากมีการใช้ต่อเนื่องในระยะยาว  ดังนั้นหากเราสามารถกำจัดเชื้อได้โดยตรงในระหว่างการทำหัตถการ อาจช่วยลดการใช้ยาฆ่าเชื้อและลดขั้นตอนในการทำหัตถการ
การเลือกวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ จัดเป็นความท้าทายประการหนึ่ง เนื่องจากความหลากหลายและความแตกต่างของอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรม ทั้งขนาด ความซับซ้อน ความคม ปริมาณ และราคา ซึ่งนอกจากต้องคำนึงถึงการทำให้ปลอดเชื้อให้ได้ประสิทธิภาพ และ ผลเสียที่อาจเกิดกับผู้ป่วย อันอาจเกิดจากสารตกค้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการรักษาสภาพของอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นให้คงสภาพเช่นเดิม เช่น อุปกรณ์มีคม  และอุปกรณ์ที่มียางเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการจัดการสำรองอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น ให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อการทำหัตถการอย่างต่อเนื่องทันต่อการใช้งาน โดยไม่ลดอายุการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีราคาแพง
เป็นที่น่ายินดี ที่โอโซนซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมทั้งไวรัส แบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา และสปอร์ ออกฤทธิ์โดยเป็นตัวออกซิไดซ์ในการทำปฏิกิริยากับเชื้อ อีกทั้งไม่มีสารตกค้าง ทำให้ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง  ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมทางด้านอาหาร การเกษตร2-10 ตลอดจน วงการแพทย์ ที่มีการประยุกต์ใช้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อาทิเช่น การนำโอโซนไปใช้ในการอบห้องผ่าตัดและเครื่องมือเพื่อกำจัดเชื้อ หรือ การนำเอาโอโซนเจือจางในน้ำ แล้วสอดสายยางเข้าทางทวารหนัก เพื่อให้ลำไส้ดูดซึมเอาโอโซนเข้าไปช่วยสลายสารพิษและฆ่าไวรัสในตับ ของแพทย์ในประเทศเยอรมัน15 เป็นต้น  ดังนั้น การนำโอโซนมาประยุกต์ใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรม น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
    โอโซนประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม(O3) ที่มีอยู่ในธรรมชาติเกิดจากการแปรรูปของอะตอมออกซิเจนภายใต้ความกดดันสูง เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น ส่วนใหญ่อยู่ทั่วไปในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่กรองรังสีต่างๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก  โอโซนในชั้นของบรรยากาศเป็นก๊าซสีน้ำเงินอ่อน มีกลิ่นฉุนจัดถึงแม้จะมีปริมาณเพียงน้อยก็ตาม (มากกว่า 0.005 ppm.) และในปริมาณที่มากพอจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ มีความสามารถในการทำลายเชื้อได้อย่างรวดเร็วที่ครอบคลุมทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ และสปอร์ โอโซนสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและอากาศกลายเป็นน้ำหรืออากาศผสมโอโซนและเนื่องจากเป็นก๊าซที่ไม่คงที่จึงค่อยๆสลายตัวได้ออกซิเจน ทำให้ไม่เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตราย จากคุณสมบัติทางเคมีข้างต้น สามารถนำประโยชน์ของโอโซนไปใช้ได้อย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิเช่น กำจัดเชื้อโรคในน้ำและอากาศ กำจัดกลิ่น และทำน้ำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น 
ในทางทันตกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้ High Voltage ผลิตโอโซนขึ้นจากอากาศ ให้อยู่ในรูปของน้ำผสมโอโซนและอากาศผสมโอโซน เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก และเนื่องจาก ความสามารถในการทำลายเชื้อ มีความสัมพันธ์กับความเข้นข้นของโอโซนซึ่งมีหน่วยวัด เป็น ppm.(Part per million) (1 ppm. หมายถึง 1 อะตอม ต่ออากาศ หรือน้ำ 1 ล้านโมเลกุล) ในการผลิตจึงต้องควบคุมปริมาณโอโซนให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการทำลายเชื้อ วิธีการนำมาใช้ทำโดยนำน้ำผสมโอโซนและอากาศผสมโอโซนที่ได้มาใช้แทนน้ำและลมธรรมดาผ่านอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำหัตถการ ผลที่ได้สามารถใช้ช่วยเตรียมช่องปาก ฟัน คลองรากฟันให้ปลอดเชื้อก่อน หรือ ระหว่าง ทำหัตถการด้านทันตกรรม และสามารถนำใช้ในการทำความสะอาดอุปกรณ์ สำลี ผ้าก๊อซ เครื่องมือทันตกรรม ให้ปราศจากเชื้อ เพื่อช่วยปิดจุดอ่อนในการควบคุมการทำให้ปลอดเชื้อของอุปกรณ์และเครื่องมือได้อีกด้วย   
โอโซนเป็นสารธรรมชาติ มีการยอมรับในเรื่องการกำจัดเชื้อได้ครอบคลุม11-14 รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ไม่มีสารตกค้างที่ก่อให้เกิดผลเสีย ไม่ทำอันตรายต่อร่างกายหากใช้ถูกวิธี ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเพราะผลจากการสลายตัวได้ออกซิเจนซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพน้ำ5  นอกจากนี้ ยังได้รับการประยุกต์เครื่องมือขึ้นมาใช้ก่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน  คุณสมบัติและประโยชน์ดังกล่าว สอดคล้องกับวิธีการที่สามารถทำให้ปลอดเชื้อได้ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  โอโซนจึงนับเป็นทางเลือกใหม่ของการทำให้ปลอดเชื้อในวงการทันตกรรม

หนังสืออ้างอิง
1.   ADA Statement on Backflow Prevention and the Dental Office: www.ada.org/prof/resources/topics/cdcสืบค้นใน www.google.com
2.   Chen, H. H., E. M. Chiu., and J. R. Huang (1997). Color and Gel Forming Properties of Horse Mackerel(Trachurus japonicus) as Related to Washing conditions. J
3.    Food Sci. 62 : 985 – 991
4.   Dew, T. L. (2005). Ozone Degradation of Off – Flavors in Catfish. A Thesis Submitted to the Graduate Faculty of The Louisiana State University and Agricultural and Mechanical College. In The Department of Food Science, 69 p
5.   Gottschalk, J. A. Libra, and Saupe (2000). Ozonation of Water and Waste Water. Weinheim. New York, 189 p
6.   Graham, D. M. (1997). Use of Ozone for Food Processing. Food Technology, 51(6) ; 72 – 75.
Hoige, 1982
7.   Jieng, Shan – Tzang, H.O. Ming – Lang, Sheng – H. O. Jiang , and Hsing - Chen Chen (1998). Purified NADPH – Sulfite Reductase from Saccharomyces cerevisiae Effects on Quality of Ozoned Mackerel Surimi. J. Food Sci. 63 (5) : 777 – 781.
8.   Kaminski, J. C., and P. W. Prendiville . (1996). Milwaukee,s Ozone Upgrade, Civil Engineering,
September : 62 – 67.
9.   Kim, J. G., Yousef, A. E. , and S. Daves (1999). Application of Ozone for Enhancing the Microbiological Safety and Quality of Foods. Journal of Food Protection. 62 : 1071 – 1087.
10.   Martin, J. F., L. W. Bennett, and W. H. Graham (1988). Off – Flavor in the Channel Catfish (Icatlurus punctatus) due to 2 – methylisoborneol and its Dehydration Products. Water Sci. Technol. 29 (8/9) : 65 – 99.
11.   Mudd, J. B., L. Leavith, A. Ongun, and T. T. McManas (1989). Reaction of Ozone with Amino Acid and Protein. Atoms Environ. 23 : 669 – 674.
Rip, 1984
12.   Tomiyasu, H. H., Fukutomi, and G. Godon. (1985). Kinetics and Mechanisms of Ozone Decomposition in Basic Aqueous Solutions. Inorganic Chem. 24 : 2962 – 2985.
http://www.ozoneapplications.com/info/cd_vs_uv.htm) (2008) สืบค้นใน www.google.com
http://www.ozonesolutions.com/Ozone_Formation.html (2008) สืบค้นใน www.google.com
http://www.ozone.meteo.be/meteo/view/en ... 6-Formatio (2008) สืบค้นใน www.google.com
www.silvermedicine.org (2008) สืบค้นใน www.google.com
13.   www.textbookofbacteriology.netสืบค้นใน www.google.com
14.   www.hopkins-aids.edu/pathogen/bacteria/pseudomonas_aeruginosaสืบค้นใน www.google.com
15.   นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุลมโอโซนและออกซิเจนบำบัด-ในดีมีร้าย ในร้ายมีดี, บทความจากมติชน, ฉบับที่ 1453 วันที่ 20 มิ.ย. 51

5  ห้องสำหรับทันตแพทย์ / SUPPLIER พบ ทันตแพทย์ / จำหน่าย เครื่อง OZO-DENT + ข้อมูลใหม่เพิ่มเติม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2010, 02:43:07 PM
ถ้าท่านเคยประสบปัญหาเช่นนี้
-   รักษาคลองรากฟันแล้วล้มเหลวเนื่องจากการติดเชื้อ จนขาดความเชื่อมั่นในการรักษา  มีความยุ่งยากในการทำให้ปลอดเชื้ออย่างแท้จริง  ต้องนัดคนไข้หลาย visit กว่าการรักษาจะประสบผลสำเร็จ
-   คนไข้ ปวด และมีอาการบวม  ภายหลังการถอนฟัน,ผ่าฟันคุดหรือผ่าตัดช่องปาก  อย่างมากจากการติดเชื้อจนต้องเข้า admit ในโรงพยาบาล
-   จะทำอย่างไรดีให้อุปกรณ์ทันตกรรมปลอดเชื้ออย่างมั่นใจ  รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก ภายหลังการรักษาให้กับคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อเช่น โรคเอดส์, ตับอักเสบ ฯลฯ
-   จะทำอย่างไรดีในการอุดฟันที่ผุลึกมากจนไม่แน่ใจว่าจะทะลุโพรงประสาทฟันหรือไม่  ว่าจะไม่ทำให้คนไข้ต้องมีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลังจากการอุด  เนื่องจากไม่สามารถนำส่วนที่ผุออกได้หมด  จนเกิดการติดเชื้อที่โพรงประสาทฟัน  หรือมีรอยผุลุกลามต่อ ได้อย่างมั่นใจ
-   เสียดายเนื้อฟันแทนคนไข้ที่ต้องสูญเสียไปจากการเตรียมโพรงฟันเพื่ออุด  ในกรณีที่รอยผุไม่ลึกและไม่ต้องกังวลเรื่องความสวยงามมากนักเช่น ฟันกราม
-   กรอทะลุโพรงประสาทฟันโดยไม่ตั้งใจ  จนเป็นสาเหตุทำให้ต้องรักษาคลองรากหรือต้องสูญเสียฟันไปในภายหลัง
-   รู้สึกว่า  การเตรียมโพรงฟันเพื่ออุดในคนไข้เด็ก,คนไข้ที่ทุพลภาพ, คนไข้ที่กลัวการกรอฟัน  หรือกรณีที่ต้องเตรียมโพรงฟันอย่างรวดเร็ว มีความยุ่งยากมาก  และไม่แน่ใจว่ากรอส่วนที่ผุออกได้หมดจริง  และอาจทำให้เกิดรอยผุซ้ำขึ้นได้
-   วิตกกังวลกับการติดเชื้อของคนไข้ที่เป็นโรคทางระบบ เช่น โรคหัวใจ , เบาหวาน, โรคไต ฯลฯ หรือไม่แน่ใจว่าคนไข้เป็นโรคใด
-   จะทำอย่างไรกับอุปกรณ์ที่ทำการรักษาให้กับคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง  ที่ไม่สามารถนำไปเข้า Autoclave หรือแช่น้ำยาฆ่าเชื้อได้  เช่น หัวกรอ ฯลฯ ให้ปราศจากเชื้ออย่างมั่นใจ รวดเร็ว และอุปกรณ์ไม่เสียหาย เนื่องจากไม่สามารถซื้ออุปกรณ์เหล่านี้เก็บไว้เป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อเปลี่ยนทุกครั้งที่รักษาคนไข้แต่ละรายได้
-   รู้สึกยุ่งยากในการรักษาโรคติดเชื้อในผู้ป่วย  การเพาะเชื้อเพื่อค้นหาว่าต้องใช้ยาอะไรในการรักษา  หรือกรณีที่คนไข้ poor oral hygiene มาก ๆ และมีการติดเชื้อราที่รักษาได้ยากร่วมด้วย
-   กลัวคนไข้ฟ้องร้องในกรณีที่การรักษาล้มเหลวจากการติดเชื้อ ทั้งที่เราสามารถป้องกันได้
ขอเสนอ
Ozo-Dent
มิติใหม่ของการฆ่าเชื้อและ
การป้องกันการติดเชื้อ
ทางทันตกรรม
เป็นสินค้ามีสิทธิบัตร

OZO-Dent เป็นเครื่องมือที่ได้ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี ผลิตโอโซน (ซึ่งทำการขออนุญาติใช้สิทธิจากบริษัท Ozo-mac เจ้าของสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องกำเนิดโอโซน  แห่งเดียวในประเทศไทย) ให้อยู่ในรูปของการพร้อมใช้งาน โดยได้ควบคุมปริมาณโอโซนให้มีความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการทำลายเชื้อแบบอัตโนมัติ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการทำหัตถการของทันตแพทย์  

?มารู้จักโอโซนกันเถอะ?  
  
     - เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม
     - สามารถเกิดขึ้นจากธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์
     - สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและอากาศ แต่ไม่เสถียร จะสลายเป็นแก๊สออกซิเจน ซึ่งไม่เป็นอันตราย
      
?โอโซนทำอะไรได้บ้าง?
          1. สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งไวรัส แบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา และสปอร์ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีพิษตกค้าง
          2. สามารถทำลาย กลิ่น สารเคมี และก๊าซพิษ

ปัจจุบันได้มีการรับรองจาก EPA(Environmental Protection Agency),FDA(Food  and   Drug  Administration)  และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางอย่างปลอดภัย  ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านอาหาร การเกษตร ตลอดจนวงการสาธารณสุข ที่มีการประยุกต์ใช้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

?ประโยชน์ของโอโซนในทางทันตกรรม?
   ทำให้ปลอดเชื้อในระหว่างการทำหัตถการทางทันตกรรม เช่น การรักษาคลองรากฟัน การอุดฟัน การติดเชื้อจากการถอนฟัน การผ่าตัดภายในช่องปาก การอักเสบจากโรคปริทันต์  เพื่อลดการใช้ยาฆ่าเชื้อและลดขั้นตอนในการทำหัตถการ

?ทำไมต้อง Ozo-Dent?
      เป็นเครื่องที่ผลิตให้เหมาะต่อการทำหัตถการของทันตแพทย์โดยเฉพาะ
     สามารถใช้งานได้ง่ายอย่างอัตโนมัติโดยระบบ microchip
     ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและค่าบำรุงรักษาต่ำมาก
     รูปลักษณ์ภายนอกสวย ทันสมัย

เราขอนำเสนอเครื่องมือ
ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการติดเชื้อ
พร้อมกับปฏิวัติการรักษาทางทันตกรรมแนวใหม่


ปัญหาเรื่องการติดเชื้อ  มอบให้เราจัดการให้


สอบถามรายละเอียดหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ไทยเดนท์ออซ จำกัด 73/18 ถ.สามัคคีอุทิศ ต.ในเมือง  อ.เมืองขอนแก่น  จ.ขอนแก่น  40000  โทรสายด่วน 086-6362755 หรือ 086-8626699
E-mail:[email protected]

เครื่องมือนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง?
1.สามารถใช้ร่วมฆ่าเชื้อในการรักษาคลองรากฟันภายในครั้งเดียวรับรองผลการรักษา ไม่ว่าจะมีการอักเสบที่ปลายรากหรือไม่
2.ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากกำจัดเชื้อได้เกือบ 100% ในขณะทำการรักษาและไม่มีสารเคมีตกค้าง
3.ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ เนื่องจากไม่ใช่สารเคมี และสุดท้ายสลายเป็นออกซิเจน
4.สามารถกำจัดเชื้อราในช่องปากอย่างได้ผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยไม่ต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วยหรือใช้แต่ปริมาณต่ำ ๆ
5.ใช้ร่วมกับการอุดฟันที่มีความลึกรอยผุไม่เกิน 2 มม. โดยไม่ต้องกรอเนื้อฟันที่ผุออกทำให้สามารถอุดฟันให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาอย่างได้ผล เช่น เด็ก, บุคคลที่ทุพลภาพทางสติปัญญา, ผู้ป่วยที่กลัวการกรอฟัน
6.ใช้ร่วมกับการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด หรือการผ่าตัดภายในช่องปาก สามารถลดอาการอักเสบได้ผลดีเยี่ยม แผลหายเร็วกว่าปกติ อาการปวดแผลลดน้อยลงอย่างมาก โดยไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อหรือใช้ในปริมาณน้อย
7.ใช้ร่วมกับการขูดหินปูนทุกราย จะช่วยลดกลิ่นปาก,อาการเสียวฟันและการอักเสบของเหงือกได้อย่างดี
8.ใช้ฆ่าเชื้อสำลีหรือผ้าก็อซ หรือวัสดุอื่น ๆ ได้สะดวก และรวดเร็ว และปราศเชื้อ 99.99%
9.ใช้ฆ่าเชื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถอบ เช่น หัวกรอ ฯลฯ ได้ผลดีกว่าการใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือสารฆ่าเชื้ออื่น ๆ อีกทั้งประหยัดเพราะไม่ต้องซื้อหา
10.สามารถกำจัดเชื้อบางชนิดที่อยู่ในอากาศภายในห้องทันตกรรม ลดกลิ่นรบกวน รวมทั้งฆ่าเชื้อภายในระบบท่อน้ำทิ้ง
11.สามารถใช้ร่วมกับการรักษาใด ๆ ที่อาจต้องระวังการติดเชื้อ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ตับอักเสบ โรคไต ฯลฯ
หมายเหตุ: 1. การรักษาและการฆ่าเชื้อ ทั้งหมดมีการวิจัยรองรับแล้วทั้งสิ้น
      2. วิธีการฆ่าเชื้อ ในข้อ 8 และ 9 โดยการบรรจุในถุงพลาสติกที่มี zip รีดอากาศในถุงออกให้มากที่สุด นำท่อกาซจากเครื่องแหย่เข้าไปในถุง  เหยียบ foot switch ปล่อยกาซรอจนกาซเต็มถุง แล้วปิด zip ทิ้งไว้นานประมาณ 5 ? 10 นาที เชื้อจะถูกทำลายได้ถึง 99.99%

Instructions
Step
1.   Rinse and gargle with ozonated water. This is used to treat oral abscesses, periodontal problems, sore throats and ulcerations. Ozonated water also may be used in a dentist's office for irrigation.

Step
2.   Prevent tooth decay and maintain periodontal health with ozone. A custom tray is made that fits over the teeth and gums. Ozone gas is passed into the tray for a period of time and the treatment is repeated every few months.

Step
3.   Prevent a root canal or extraction with ozone. An exposed nerve is washed with ozonated water followed by ozone gas that often prevents the nerve from dying, thus making a root canal unnecessary.

Step
4.   Disinfect a tooth with ozone before performing a root canal or restoration. The tooth is composed of many tubules that may contain harmful bacteria. Ozonated water and gas can permeate these tubules and kill the bacteria.

Step
5.   Treat pain in the temporomandibular joint with ozone. Some practitioners inject ozone gas directly into the temporomandibular joint for the purpose of killing microorganisms. It also may reduce the inflammation and promote new cartilage growth.

ขั้นตอนการรักษาทางคลีนิคโดยการประยุกต์ใช้โอโซน
ข้อควรพึงปฏิบัติ
*****ให้ผู้ป่วย อมน้ำที่ผสมโอโซน เป็นเวลา ๑-๒ นาที ก่อนและภายหลังการทำทันตกรรมหัตถการทุกครั้ง*****
*****ทุกครั้งที่มีการใช้กาซพ่นฟันซี่ใด ให้ใช้ suction วางไว้ตำแหน่งใกล้ ๆ กับฟันซี่นั้นเสมอ*****

การอุดฟันในclass 1,3,4
1. เริ่มต้นในการกำจัดเศษอาหารที่ติดตามโพรงฟันที่ผุออก(ถ้ามี) โดยการกรอเปิดโพรงเล็กน้อยเพื่อให้เศษอาหารออกได้ง่ายหรือถ้าไม่มีเศษอาหารตกค้าง (ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการใช้เครื่องมือเขี่ยดู)
2. ล้างโพรงฟันด้วยน้ำที่ผสมโอโซน เป็นระยะเวลา 10-20 วินาที แล้วซับให้แห้ง
๓. เป่าโพรงฟันด้วยโอโซน เป็นเวลา 20-40 วินาที
๔. อุดปกติด้วยวัสดุอุดฟัน
ในกรณีอุดฟันclass2
หลังจากขั้นตอนที่ 1 แล้ว เตรียมโพรงให้เป็นลักษณะ class 2 ปกติ แต่ถ้าใช้วัสดุอุดฟันแบบฉายแสงที่มีความแข็งแรงพอก็กรอฟันเท่าที่จำเป็นก็พอ แล้วใส่เมทริกแบนด์ให้เรียบร้อยก่อนจึงเริ่มขั้นตอนที่ 2,3 และ 4
การรักษาโรคเหงือก
เมื่อขูดหินปูนเสร็จแล้ว ให้ผู้ป่วยบ้วนน้ำล้างปากเสร็จแล้วให้อมน้ำที่ผสมโอโซน เป็นเวลา 1-2 นาที ภายหลังการรักษา
การถอนฟัน
1. ล้างโพรงภายหลังการถอนฟันด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที
2. กัดผ้ากอซที่ชุบด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 30-60 นาที
การรักษาภาวะการติดเชื้อภายหลังการถอนฟัน
1. ทำความสะอาดกำจัดเศษอาหารที่ตกค้างออกให้หมด
2. ล้างด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที
3. กัดผ้ากอซที่ชุบด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 30-60 นาที
การรักษาคลองรากฟัน
กรณีไม่มีถุงหนองปลายราก
1. ล้างด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที แล้วจึง เปิดคลองรากฟันปกติ นำประสาทฟันออกให้หมด
2. วัดระยะความยาวของคลองรากและขยายปกติ โดยใช้น้ำผสมโอโซนล้างในแต่ละขั้นตอน
3. เมื่อได้ main cone แล้วล้างคลองรากด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที ต่อ 1 คลองราก
4. ซับให้แห้งด้วยวิธีปกติ แล้วเป่าด้วยโอโซน เป็นเวลา 20-40 วินาที ต่อ 1 คลองราก
5. อุดคลองรากปกติ และสามารถอุด permanent ได้เลย
กรณีมีถุงหนองปลายราก
1. ล้างด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที แล้วจึง เปิดคลองรากฟันปกติ นำประสาทฟันออกให้หมด
2. Drain หนองออกให้มากที่สุด
3. วัดระยะความยาวของคลองรากและขยายปกติ โดยใช้น้ำผสมโอโซนล้างในแต่ละขั้นตอน
4. เมื่อได้ main cone แล้วล้างคลองรากด้วยน้ำผสมโอโซน เป็นเวลา 10-20 วินาที ต่อ 1 คลองราก โดยให้ Insert เข็มล้างให้ลึกที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ในกรณีมีรูเปิดของถุงหนองให้ล้างโดย Insert เข็มเข้าไปในถุงหนองด้วย
5. ซับให้แห้ง แล้วเป่าด้วยโอโซน เป็นเวลา 20-40 วินาที ต่อ 1 คลองราก
6. อุดคลองรากปกติ และสามารถอุด permanent ได้เลย*
*ถ้าไม่แน่ใจให้รอดูอาการก่อนได้ แล้วค่อยอุด visit ที่ 2 แต่เท่าที่ได้ทำการรักษาด้วยตนเองและติดตามผลการรักษาด้วยการอุด permanent ใน visit เดียว 1 wk., 1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน ผล x-ray ปกติ เงาดำปลายรากดูดีขึ้นและหายไปใน 1-2 เดือน ผู้ป่วยยังไม่มีอาการใด ๆ
หมายเหตุ: ทั้ง 2 กรณี เครื่องมือทุกชนิดรวมถึงวัสดุที่ใช้อุดคลองรากให้เช็ดและ/หรือแช่ในน้ำโอโซนก่อนใช้อย่างน้อย 2 นาที
ผมจะมาพูดถึง Case report ที่ได้ทำไปบ้างแล้วดังนี้ครับ
1.   ขูดหินปูนรักษาโรคปริทันต์ moderate-severe 80 ราย
2.   ผ่า Impact 11 ราย
3.   ถอนฟัน 60 ราย
4.   Filling ด้วย L.C. บริเวณ หลุมร่องฟันที่ผุไม่ลึกโดยไม่ได้กรอเนื้อฟัน 12 ราย
5.   Deep caries nearly expose pulp แต่ Filling ปกติด้วย AF 20 ราย
6.   กรอ remove caries expose pulp แต่ฟันยัง vital 7 ราย
7.   RCT ทั้งหมด 15 ราย
ทั้งหมดรักษาตามแผนการรักษาที่ได้เสนอไว้แล้วจากการติดตามผลการรักษาทั้งหมด จัดเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1.   โรคปริทันต์ ภายหลังจากการรักษา 1 วัน ได้นัดทำการตรวจสภาพของเหงือกที่อักเสบ สามารถลดการอักเสบลงได้ถึง 70%- 80%,กลิ่นปากลดลงมาก ผู้ป่วยพอใจมากและต้องการให้ทำการรักษาแบบนี้อีก
2.   ผ่าฟันคุดและถอนฟัน นัดตรวจแผล 3 วันหลังการรักษา ผลปรากฏว่าแผลไม่มีรอยของการอักเสบ อาการปวดแผลไม่มากเมื่อเทียบกับที่เคยถอนมาก่อน ทำการล้างอีกครั้งแล้วนัดตรวจอีกครั้ง 10 วันหลังการรักษา การหายของแผลประมาณ 70%-80% ไม่มีอาการปวด ผู้ป่วยพอใจมาก
3.   Filling โดยไม่ได้กรอเนื้อฟัน นัดตรวจภายหลังการอุด 1-2 เดือนหลังการรักษา จากผลของ X-rays พบว่าไม่ปรากฏรอยผุเพิ่มใต้วัสดุอุด ผู้ป่วยพอใจมากและชอบกับการรักษาด้วยวิธีนี้ ยังรอการนัดตรวจผล 6 เดือนหลังการรักษาอยู่
4.   Deep caries nearly expose pulp นัดตรวจภายหลังการรักษา 3 วัน อาการเสียวฟันมีไม่มาก ไม่มีอาการปวด สามารถใช้บดเคี้ยวได้เป็นปกติ นัดตรวจอีกครั้ง 2 เดือน ภายหลังการรักษา ผลของ X-rays ไม่พบรอยผุลุกลาม รากฟันปกติไม่พบรอยโรค รอนัดตรวจอีกครั้ง 6 เดือนหลังการรักษา
5.   กรอ remove caries expose pulp แต่ฟันยัง vital นัดตรวจภายหลังการรักษา 3 วัน อาการเสียวฟันมีไม่มาก ไม่มีอาการปวด สามารถใช้บดเคี้ยวได้เป็นปกติ นัดตรวจอีกครั้ง 2 เดือน ภายหลังการรักษา ผลของ X-rays ไม่พบรอยโรครอบรากฟัน รอนัดตรวจอีกครั้ง 6 เดือนหลังการรักษา
6.   RCT ทุกรายทำการรักษา 1 visit นัดตรวจ 7 วันภายหลังการรักษา ไม่มีอาการปวด เหงือกปกติไม่มีตุ่มหนอง เคาะเจ็บอยู่บ้าง ใช้งานบดเคี้ยวได้แต่ยังเจ็บเล็กน้อย นัดตรวจอีกครั้ง 1 เดือน ภายหลังการรักษา ผลX-raysรอยโรครอบรากฟันเล็กและจางลงอย่างชัดเจน อาการเจ็บลดลงอย่างมาก เคาะไม่เจ็บ นัดตรวจ 3 เดือนภายหลังทำการรักษา ผล X-rays เป็นปกติ ไม่พบรอยโรครอบรากฟัน ไม่มีอาการเจ็บ ใช้งานบดเคี้ยวได้เป็นปกติ รอนัดตรวจอีกครั้ง 6 เดือนภายหลังการรักษา
หมายเหตุ: การรักษา RCT ผมทำตามขั้นตอนดังนี้
1.   อมน้ำผสมโอโซนก่อนการรักษานาน 2 นาที
2.   ล้างบริเวณโพรงฟันที่ต้องการรักษาด้วยน้ำผสมโอโซน 20-40 วินาที (เป็นการฆ่าเชื้อก่อนการรักษา)
3.   กรอเปิดโพรงประสาท (ไม่ได้ใส่ rubber dam เนื่องจากมั่นใจว่าภายในช่องปากได้ทำการฆ่าเชื้อแล้ว)
4.   Remove pulp , วัดความยาวคลองราก
5.   ขยายคลองราก(ไม่จำเป็นต้องขยายหลายเบอร์ ขอให้ถึงเบอร์ที่เรามี main cone ก็พอ) ,try main cone,ใช้น้ำผสมโอโซนล้างทุกขั้นตอน นานประมาณ 10-20 วินาที/ครั้ง(เป็นการฆ่าเชื้อในระหว่างการรักษาไปด้วย)
6.   ซับแห้งด้วย paper point เมื่อแห้งดีใช้กาซโอโซนเป่าโดยแหย่เข็มให้ลึกพอสมควรแต่ต้องไม่แน่นเพื่อให้มีทางระบายกาซ นาน 30-40 วินาทีต่อราก(เป็นการฆ่าเชื้อครั้งสุดท้ายก่อนสิ้นสุดการรักษา)
7.   อุดคลองรากตามขั้นตอนปกติ ,อุดชั่วคราวเพื่อรอดูอาการประมาณ 7 วัน แล้วจึงอุดถาวร(บางรายผู้ป่วยไม่มีเวลาก็จะอุดถาวรให้เลย) แล้วนัดตามผลการรักษา(ไม่ได้จ่ายยาปฏิชีวนะใด ๆ มีเพียง ยาแก้ปวดธรรมดาเท่านั้น)
8.   รวมเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการรักษา ตั้งแต่เริ่มจนอุด ประมาณ 30-45 นาที/ซี่

หน้า: [1]


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
designed by จัดฟัน เชียงใหม่
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 21 คำสั่ง