thaiprivatedent.com

News - ข่าว => ข่าวสาร => ข้อความที่เริ่มโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 09:45:26 AM



หัวข้อ: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 09:45:26 AM
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพระราชบัญญัติ นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ ให้กระทำให้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า ?พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...?
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ในพระราชบัญญัตินี้
?ผู้เสียหาย? หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาล
?สถานพยาบาล? หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ และของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
ประกาศกำหนดฉบับที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
 ?บริการสาธารณสุข? หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ซึ่งได้แก่ การประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพ
เวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตาม
กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม
การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ
กายภาพบำบัด การประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม หรือการปะรกอบวิชาชีพ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และให้รวมถึงการให้บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
?กองทุน? หมายความว่า กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
?คณะกรรมการ? หมายความว่า คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
?สำนักงาน? หมายความว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
?รัฐมนตรี? หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑ การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
---------------------------
มาตรา ๕ ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน
ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด
มาตรา ๖ บทบัญญัติในมาตรา ๕ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตาม
มาตราฐานวิชาชีพ
(๒) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐาน
วิชาชีพ
(๓) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้ว
ไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ
ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมภายใต้หลักเกณฑ์
ดังกล่าวข้างต้นได้

หมวด ๒  คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
----------------------
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนี่งเรียกกว่า ?คณะกรรมการสร้างเสริม
ความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข? ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เลขาธิการ
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
(๓) ผู้แทนสถานพยาบาล จำนวนสามคน
(๔) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
ด้านบริการสุขภาพ จำนวนสามคน
(๕) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุข
ด้านละหนึ่งคน
การคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการและให้อธิบดีกรม
สนับสนุนบริการสุขภาพแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจำนวนไม่เกินสองคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๘ กรรมการตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) และ (๕) มีวาระ
การดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับคัดเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่ง
เกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได้
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการคดเลืองหรือแต่งตั้ง
กรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฎิบัติหน้าที่
ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับคัดเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้ารับหน้าที่แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการ
คัดเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่ง
กรรมการนั้นว่างลงและให้ผู้ได้รับคัดเลือกหรือได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่ง
เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเหลืออยู่ไม่ถึง
เก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการคัดเหลือหรือแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นก็ได้ และในการนี้ให้
คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่

มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง
กรรมการตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) และ(๕) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๑๐ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบ
ความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย และการสนับสนุนการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริม
ความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
(๒) กำหนดประกาศการจ่ายเงินสมทบกองทุนตามมาตรา ๒๑
(๓) กำหนดระเบียบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุน
ตามมาตรา ๒๓ รวมทั้งระเบียบเกี่ยวกับค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก และ ค่าป่วยการตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง
(๔) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตามมาตรา ๒๕
ระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา ๒๔ และระเบียบกาจ่ายเงินชดเชยตาม มาตรา ๓๒
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามมาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๑
(๖) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓
และการดำเนินการไกล่เกลี่ย การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และคำตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา ๓๔
(๗) จัดประชุมรับฟังความเห็นของสถานพยาบาลและผู้รับบริการสาธารณสุข
เพื่อรับทราบปัญหาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกัน
ความเสียหาย รวมทั้งการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
(๘) กำหนดนโยบายการบริการงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงาน
(๙) จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา ๓๙ โดยคัดเลือกจากบุคคล
ที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
สาธารณสุข
(๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสนับสนุนการไกล่เกลี่ย
และการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขและพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน
เพื่อใช้จ่ายในการสนับสนุนกิจกรรมตามมาตรา ๔๓
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็น
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการแทนได้
มาตรา ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า
กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม
หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง
ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด
ในการประชุม ถ้ามีการพิจารณาเรื่องที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใด
มีส่วนได้เสีย ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นมีหน้าที่แจ้งให้คณะกรรมการทราบและมีสิทธิ
เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นแต่ไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียง
วิธีการประชุมและการมีส่วนได้เสียซึ่งประธานกรรมการหรือกรรมการมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เป็นไปตามทีคณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่
ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา ๒๗
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านการคุ้มครอง
ผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน
(๒) คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยตามมาตรา ๓๐ ประกอบด้วย
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการฟื้นฟู
สมรรถภาพและด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน
(๓) คณะอนุกรรมการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
หลักเกณฑ์และวิธีการการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๑) และ(๒) ให้เป็นไปตามที่
คณะกรรมการกำหนด

ประธานคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการ  แต่ละคณะเลือกกันเอง
ให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมอบหมายแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงานหรือเจ้าหน้าที่
ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แล้วแต่กรณีเป็นฝ่ายเลขานุการ
ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจแต่งตั้งมากกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับกับการประชุม วิธีการประชุม และการมีส่วนได้เสีย
ของคณะอนุกรรมการและอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งประกอบด้วย
ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์
และสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน
การแต่งตั้งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้นำมาตรา ๑๒ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์และวิธีการการได้มาและเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะกรรมการ
วินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งมากกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับกับการประชุม วิธีการประชุม และการมีส่วนได้เสีย
ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์โดยอนุโลม
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัย
อุทธรณ์ตามมาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๑
มาตรา ๑๕ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะแต่งตั้งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ให้นำมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประธานอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และประโยชน์ตอบแทนอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ
กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประธานอนุกรรมการ
หรืออนุกรรมการ เป็นเจ้าพักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๘ ให้คณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือ
คณะอนุกรรมการมีอำนาจสั่งให้สถานพยาบาล ผู้เสียหายหรือทายาท บุคคล หน่วยงาน
หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำด้วยตนเอง หรือส่งข้อมูล
หรือเอกสารหลักฐานตามกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
ให้บุคคลที่มาให้ถ้อยคำด้วยตนเองตามวรรคหนึ่งได้รับคำพาหนะ
ค่าเช่าที่พัก และค่าป่วยการ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๙ ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นสำนักงานเลขานุการ
ของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และคณะอนุกรรมการ และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับและตรวจสอบคำขอรับเงินค่าเสียหายและคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ประสานงานกับสถานพยาบาลเพื่อให้ส่งเวชระเบียนของผู้เสียหายหรือ
ข้อมูลเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๘
(๓) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กร หรือบุคคลใดๆ เพื่อขอทราบ
ข้อเท็จจริงหรือความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) รับ จ่าย และเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายเงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้
และวิธีป้องกันความเสียหายเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) สนับสนุนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมพัฒนาระบบความปลอดภัย
และป้องกันความเสียหาย รวมทั้งการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
(๗) มอบให้หน่วยงานของรัฐ องค์กร หรือบุคคลอื่นทำกิจการที่อยู่ภายในอำนาจ
หน้าที่ของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้
(๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงาน
ของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการ และสำนักงาน เพื่อเผยแพร่
ต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๙) ประชาสัมพันธ์และแจ้งผู้ยื่นคำขอและประชาชนทั่วไปเพื่อความเข้าใจ
หลักการและเหตุผล ขั้นตอน วีธีการและเงื่อนไขการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

หมวด ๓ กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
มาตรา ๒๐ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงาน เรียกว่า ?กองทุน
สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข? โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท
(๒) เพื่อชำระค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาตามมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕
(๓) เป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุน หรือส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาระบบ
ความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายตามแผนงานที่คณะกรรมการอนุมัติและ
(๔) เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาระบบการาไกล่เกลี่ยและการส่งเสริม
ความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสุขภาพ
คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินจากกองทุนที่ได้รับจากเงินที่สถานพยาบาล
จ่ายสมทบและเงินที่รัฐบาลอุดหนุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๑๖ และมาตรา๑๘ และเป็น
ค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้
ตามความจำเป็นได้แต่ไม่เกินร้อยละสิบต่อปีของจำนวนเงินดังกล่าว
มาตรา ๒๑ สถานพยาบาลต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงขนาดของสถานพยาบาล จำนวน
ผู้รับบริการสาธารณสุข ความถี่หรือความรุนแรงของการเกิดความเสียหาย การประชาสัมพันธ์
และการแจ้งให้ผู้รับบริการสาธารณสุขทราบเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การประสานงานเพื่อให้ผู้เสียหายหรือทายาทยื่นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้
การสนับสนุนการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
และการพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย
หากสถานพยาบาลไม่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด
หรือส่งเงินไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงิน
ที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนดหรือจำนวนเงินที่ส่งขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วัน
ครบกำหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคสอง เศษของเดือนให้คำนวณเป็นรายวัน
สถานพยาบาลใดไม่จ่ายเงินสมทบตามวรรคหนึ่งหรือไม่เสียเงินเพิ่ม
ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครองมาใช้บังคับ และในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับ ให้อธิบดี
กรมการสนับสนุนบริการสุขภาพมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชำระเงินดังกล่าว
ในการนี้ถ้าศาลปกครองเห็นว่าการให้ชำระเงินนั้นชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ศาลปกครองมีอำนาจ
พิจารณาพิพากษาและบังคับคดีให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้ชำระเงินนั้นได้

มาตรา ๒๒ กองทุนประกอบด้วย
(๑) เงินที่โอนมาจากเงินตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(๒) เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบ
(๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๔) เงินเพิ่มตามมาตรา ๒๑ วรรคสอง
(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน
(๖) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ในการเสนอขอรับเงินอุดหนุนตามวรรคหนึ่ง(๓) ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำ
ของคณะกรรมการจัดทำคำขอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา๒๓ ให้สำนักงานเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการ
เบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุน ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๒๔ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้คณะกรรมการเสนองบการเงินและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน
ในปีที่ล่วงมาซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
งบการเงินและรายงานการรับจ่ายเงินดังกล่าว ให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
เพื่อนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ และจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา




หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 09:46:58 AM
หมวด ๔ การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย
มาตรา ๒๕ ผู้เสียหายอาจยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้
ต่อสำนักงานหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่สำนักงานกำหนด ภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึง
ความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปี
นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย

ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถยื่นคำขอ
ด้วยตนเองได้ บิดามารดา คู่สมรส ทายาท หรือผู้อนุบาล หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับ
มอบหมายเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งได้
การยื่นคำขอตามมาตรานี้จะกระทำด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ทั้งนี้ ตามวิธีการ
รูปแบบ และรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ
มาตรา ๒๖ เมื่อมีการยื่นคำขอตามมาตรา๒๕ ภายในอายุความทางแพ่งในมูล
ละเมิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุขแล้ว ให้อายุความนั้นสะดุดหยุดอยู่
ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าการพิจารณาคำขอเงินชดเชยนั้นจะถึงที่สุดหรือมีการยุติการพิจารณา
คำขอตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๗ ให้สำนักงานหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่สำนักงานกำหนด
แล้วแต่กรณี ส่งคำขอตามมาตรา ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ และให้คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น
วินิจฉัยคำขอให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ หากคณะอนุกรรมการพิจารณา
ให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นเห็นว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๕ และไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา ๖
ให้วินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ให้ขยายระยะเวลาการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น
ออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการ
ขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ด้วย หากการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ขยายดังกล่าว
ให้ถือว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นวินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
และให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท
คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นที่วินิจฉัย
จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๘ หากคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นมีคำวินิจฉัย
ไม่รับคำขอ ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว
ในการนี้ ผู้ยื่นคำขออาจเสนอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของ
คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่ได้รับเรื่องอุทธรณ์ ถ้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์วินิจฉัยรับคำขอ ให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัย
อุทธรณ์กำหนดจำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นด้วย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สิ้นสุด

มาตรา ๒๙ การพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นของคณะอนุกรรมการ
พิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นและคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ
มาตรา ๓๐ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นหรือ
คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ส่งคำขอให้คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยหรือถือว่ามีคำวินิจฉัยให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
ตามมาตรา ๒๗ หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้รับคำขอตามมาตรา ๒๘
ให้คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยโดยคำนึงถึง
หลักการเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ให้คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยวินิจฉัยคำขอให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นหรือคณะกรรมการ
วินิจฉัยอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ด้วย
มาตรา ๓๑ หากผู้ยื่นขอไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินชดเชยที่คณะอนุกรรมการ
ประเมินเงินชดเชยได้วินิจฉัย ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการการประเมินเงินชดเชย โดยยื่นอุทธรณ์
ต่อสำนักงาน และให้สำนักงานส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ถ้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๒ การพิจารณาและการจ่ายเงินชดเชยตามคำวินิจฉัยของ
คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยและคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ
มาตรา ๓๓ เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทตกลงยินยอมรับเงินชดเชย ให้ผู้ให้บริการ
สาธารณสุขหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายและผู้เสียหายจัดทำสัญญาประนีประนอม
ยอมความ ทั้งนี้ ตามวิธีการ รูปแบบ และรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

มาตรา ๓๔ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยหรือคณะกรรมการ
วินิจฉัยอุทธรณ์ได้กำหนดจำนวนเงินชดเชยแล้ว หากผู้เสียหายหรือทายาทไม่ตกลงยินยอมรับ
เงินชดเชยและได้ฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายเป็นคดี
ต่อศาล ให้สำนักยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้และผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิ
ที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก
หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้คณะอนุกรรมการ
ประเมินเงินชดเชยพิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชำระค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษา
หรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้บริการ
สาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณา
จ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๕ ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือทายาทได้นำเหตุแห่งความเสียหายฟ้องคดี
ต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
ความเสียหาย โดยได้ขอรับเงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะขอรับเงินค่าเสียหาย
ก่อนหรือหลังฟ้องคดี ให้ดำเนินการให้มีการพิจารณาเฉพาะการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่
ผู้เสียหายหรือทายาทเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ให้นำความใน
มาตรา ๓๔ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๖ ในกรณีทีมีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายแล้ว
หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้หักเงินช่วยเหลือเบื้องต้นออกจากค่าสินไหมทดแทนด้วย
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่มีความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังการทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหาย
หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ให้ผู้เสี่ยหายมีสิทธิยื่นคำขอรับเงินชดเชย
ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุข
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายที่ปรากฏขึ้น
ภายหลัง ในกรณีเช่นว่านี้ให้สำนักงานหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่สำนักงานกำหนด แล้วแต่กรณี
ส่งคำของดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการประเมินชดเชยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
โดยให้นำมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๕ การไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
มาตรา ๓๘ หากผู้เสียหายและผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับความเสียหายตกลงให้ใช้วิธีไกล่เกลี่ย ให้สำนักงานดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยเพื่อให้
เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันหรือเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันในเรื่องอื่นนอกเหนือจาก
เงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้
การไกล่เกลี่ยตามวรรคหนึ่งจะดำเนินการก่อนหรือภายหลังผู้เสียหายได้ยื่นคำขอรับ
เงินค่าเสียหายตามมาตรา ๒๕ หรือหลังจากการพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหายเสร็จแล้วก็ได้
มาตรา ๓๙ ในการไกล่เกลี่ย ผู้เสียหายและผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายมีสิทธิร่วมกันเลือกผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคนเดียวหรือ
หลายคนตามที่ตกลงกันจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการหรือหน่วยงานหรือองค์กรเอกชนอื่น
ได้จัดทำไว้หรือบุคคลอื่นใดที่ผู้เสียหายและผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
ความเสียหายเห็นสมควรร่วมกัน เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และให้สำนักงานแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลในการไกล่เกลี่ยด้วย
การไกล่เกลี่ยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วซึ่งอย่างช้าต้องไม่เกินสามสิบวัน
นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยหากมีเหตุจำเป็นไม่อาจไกล่เกลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ทั้งนี้
ผู้เสียหายหรือผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย มีสิทธิที่จะยุติการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ได้
หากผู้เสียหายกับผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย
สามารถตกลงร่วมกันในเรื่องอื่นนอกเหนือจากเงินค่าเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้บุคคล
ดังกล่าวร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้มีผลผูกพันทั้งสองฝ่ายในเรื่องดังกล่าว
หลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบของการไกล่เกลี่ย สัญญาประนีประนอม
ยอมความ และค่าตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๐ เมื่อมีการไกล่เกลี่ยตามมาตรา ๓๘ ให้อายุความฟ้องร้องคดีแพ่ง
สะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่ามีการยุติการไกล่เกลี่ย
มาตรา ๔๑ ห้ามมิให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้ ในการดำเนินคดีทางศาล
(๑) ข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้การไกล่เกลี่ย
(๒) ความเห็นหรือข้อเสนอใดๆ ซึ่งได้เสนอโดยผู้เกี่ยวข้องในการไกล่เกลี่ย
ในกระบวนการไกล่เกลี่ย
(๓) ข้อเท็จจริงที่ผู้เกี่ยวข้องในการไกล่เกลี่ยได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอในการ
ไกล่เกลี่ยเพื่อยังให้เกิดการตกลงซึ่ง ได้เสนอโดยผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย

หมวด ๖  การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย
มาตรา ๔๒ ให้คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยวิเคราะห์สาเหตุ
แห่งความเสียหายเพื่อแจ้งให้สถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายพิจารณาหาแนวทาง
พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายรวมทั้งการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี
ในระบบบริการสาธารณสุข แล้วให้สถานพยาบาลนั้นทำรายการการปรับปรุงแก้ไขและส่งให้
สำนักงานภายในหกเดือน
เมื่อสถานพยาบาลได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางในวรรคหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการอาจนำมาประกอยการพิจารณากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน
ตามมาตรา ๒๑ ในทางที่เป็นคุณให้แก่สถานพยาบาลก็ได้
มาตรา ๔๓ ให้สำนักงานสนับสนุนสถานพยาบาล หน่วยงาน หรือองค์กร
ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย
ของผู้รับบริการสาธารณสุข เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกัน
ความเสียหายของผู้รับบริการสาธารณสุข และกิจกรรมด้านการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี
ในระบบบริการสาธารณสุข โดยเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกองทุน
สำหรับใช้จ่ายในการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔ สถานพยาบาลใดที่มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกัน
ความเสียหายตามที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการอาจสั่งให้ลดอัตราการจ่ายเงินสมทบ
เข้ากองทุนตามมาตรา ๒๑ ได้

หมวด ๗ การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา
ฐานกระทำการโดยประมาทเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข หากศาลเห็นว่าจำเลย
กระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี
มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้มีการทำ
สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย
และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้ รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณา
ประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด
หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการ
วินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๗ ให้โอนภารกิจเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินช่วยเหลือ
เบื้องต้นที่ได้มีการกันไว้ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาเป็นของสำนักงานหรือกองทุนแล้วแต่กรณีในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่มีการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และยังไม่ได้มีการจ่ายเงินดังกล่าว
ให้แก่ผู้ยื่นคำร้อง ให้ถือว่าเป็นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๙ ในกรณีที่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา ๔๑ แห่ง
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้แก่ผู้ยื่นคำร้องไปแล้ว ผู้เสียหาย
หรือทายาทยังคงมีสิทธิที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้ได้อีก หากยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา
ตามมาตรา ๒๕ โดยให้หักเงินช่วยเหลือเบื้องต้นดังกล่าวออกจากเงินค่าเสียหายตาม
พระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๕๐ ให้รัฐมนตรีดำเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ
ตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) และ(๕) เพื่อให้ได้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนสิบเอ็ดคน โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครอง
สิทธิผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพจำนวนหกคน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์
สื่อสารมวลชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุข อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ตามมาตรา ๗ วรรค (๓) (๔) และ(๕)
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
.................................................
นายกรัฐมนตรี


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 09:56:00 AM
เนื่องจาก ร่าง พรบ.นี้มีผลกระทบต่อพวกเราในฐานะผู้ให้บริการทางสาธารณสุขสาขาหนึ่ง จึงขอแนะนำให้ทุกคนลองไปอ่านร่าง พรบ.ที่นำเ้สนอในกระทู้นี้  อ่านให้ละเอียด ตีความทุกบรรทัดให้ชัดเจน แล้วมาหาข้อสรุปว่า เราจะได้ผลกระทบอย่างไร ยอมรับได้หรือไม่  เท่าที่ทราบ ขณะนี้สภาวิชาชีพแพทย์ทั้ง4 แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเทคนิคการแพทย์ได้แสดงความเห็นคัดค้าน ขอให้มีการแก้ไขร่างนี้ใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ผู้ให้บริการ ในฐานะที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีบทกำหนดโทษเมื่อกระทำความผิด และต้องถูกเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนด้วย

วันนี้ตัวแทนวิชาชีพทุกสาขา จะส่งตัวแทนเข้าประชุมร่วมกับ นายกรัฐมนตรี อภสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่พรรคประชาธิปัตย์ เวลา 14.00น. ไม่ทราบ ทันตแพทย์จะส่งใครเข้าร่วมรับฟังด้วยหรือไม่  บังเอิญผมเพิ่งได้รับการประสานจากผู้แทนสภาเทคนิคการแำพทย์ ในฐานะที่อดีตเคยร่วมกันต่อสู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล เรื่องป้า่ยคลินิก เมื่อประมาณ 7 ปีทืีแล้ว  ขอใช้เวลาไปทำความเข้าใจตัวร่าง พรบ.นี้ก่อน


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 12:10:08 PM
ความเห็นของนักกฎหมายเกี่ยวกับพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานคณะอนุกรรมการเงินเดือนและค่าตอบ แทนแพทย์
แพทยสภา

ที่ปรึกษากฎหมายคณะอนุกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา  นายสรรค์ชัย ชญานิน ซึ่งเป็นนักกฎหมายมหาชนได้สรุปในมุมมองของนักกฎหมายเกี่ยวกับพ.ร.บ.คุมครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ในการสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบของพ.ร.บ.ค้มครองผู้เสียหาย ฯและการเตรียมความพร้อม"  จัดโดยคณะอนูกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2553
และอีกหนึ่งความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เป็นความเห็นที่มีต่อคำถามที่ว่า ?ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้วประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่? ผู้ให้ความเห็นคือคุณสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ที่ปรึกษากฎหมายของคณะอนุกรรมการเงินเดือนและค่าตอบ แทนแพทย์แพทยสภา
ความเห็นของคุณสรรค์ชัย ชญานิน

1.พ.ร.บ.นี้ขัดกับกม.รัฐธรรมนูญ ในแง่ที่ "ให้" ประชาชนมากเกินสัดส่วน ในขณะที่แพทย์ได้รับน้อยเกินไป คือไม่คุ้มครองแพทย์เลย
2.พ.ร.บ.นี้ เขียนเจตนารมณ์ว่าจะลดการฟ้องร้อง แต่ผลที่เกิดขึ้นจะตรงกันข้าม หรือเขียนว่าไม่พิสูจน์ถูก/ผิด แต่ม. 6 ต้องพิสูจน์ก่อนว่าหมอทำผิดจึงจะได้รับเงิน
3.กรรมการที่มาตัดสินถูก/ผิดนั้นมาจากคนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ ทำให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ถูกเลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรมเหมือนวิชาชีพอื่น เช่นวิศวกรรม บัญชี หรือสถาปัตยกรรม
4. การเรียกเก็บเงินจากรพ.ของรัฐทำไม่ได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบแทน โรงพยาบาลของรัฐ
5.การเรียกเก็บเงินจากเอกชนก็ทำไม่ได้ เพราะเอกชนเขาต้องรับผิดชอบเองอยู่แล้ว
6.มีพ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 และมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ศาลแพ่ง ศาลอาญา
7..พ.ร.บ.นี้ไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้เสียหายที่แพทย์ไม่ได้ทำผิด ในขณะที่พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 หรือม. 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือโดยไม่ต้องรับผิด (no fault compensation) ประชาชนกลุ่มนี้(ตามมาตรา 6 จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์

 ต่อจากนี้ เป็นความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เป็นความเห็นที่มีต่อคำถามที่ว่า
ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้ว
ประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ผู้ให้ความเห็นคือคุณสุกฤษฎิ์
กิติศรีวรพันธ์ ที่ปรึกษากฎหมายของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ แพทยสภา
 โดยได้อธิบายถึง กฎหมายที่มีอยู่แล้ว ในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน และวิเคราะห์ความเห็นที่มีต่อพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....



หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 12:14:08 PM
กฎหมายในปัจจุบัน
ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
มาตรา ๔๒๐  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา ๔๒๕  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา ๔๒๖  นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิด อัน ลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
มาตรา ๔๔๘  สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหาย รู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วัน
 
พระราชบัญญัติหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕
มาตรา ๔๑  ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้ หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษา พยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร  ทั้ง นี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๒  ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก การรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ตามมาตรา ๔๑ เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้
 
พระราชบัญญัติความ รับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕  หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้า ที่ ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
ถ้าการ ละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖  ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้า หน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
มาตรา ๗  ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง หน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือ ต้องร่วม รับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็น เรื่องที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจาร ณาคดีนั้น อยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
ถ้าศาล พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูก ฟ้องมิใช่ผู้ ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามา ในคดีออกไป ถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
มาตรา ๘  ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้า หน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทด แทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้าย แรง
สิทธิเรียก ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึง ระดับความร้าย แรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้อง ให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้
ถ้าการ ละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบ การดำเนินงาน ส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย
ในกรณีที่ การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมา ใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
มาตรา ๙  ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนด อายุความ หนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนนั้น แก่ผู้เสียหาย
มาตรา ๑๐  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ว่าจะ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากเจ้า หน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียก ร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับ แต่วันที่ หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๑  ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็น ว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนสำหรับ ความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและ พิจารณาคำขอ นั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจ ในผลการ วินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้อง ทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับ แต่วันที่ตน ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ให้หน่วย งานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน หนึ่งร้อยแปด สิบวัน หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหา และอุปสรรคให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ทราบและขอ อนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ ไม่เกินหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน
มาตรา ๑๒  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้า หน้าที่ผู้นั้น ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ ผู้นั้น ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
มาตรา ๑๓  ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับ ผิดตาม มาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึง รายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย
หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไป ตามหลัก กฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม ก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพียงใดก็จะมี การฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียง เล็กน้อยในการ ปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น ยังมีการนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ที่จะมีต่อ แต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็น การบั่นทอน กำลังขวัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้า ตัดสินใจดำเนิน งานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ยังมีวิธี การในการบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยกำกับดูแลอีก ส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ทำการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคนมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้ บังคับ  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของรัฐ  จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้
 
 

ข้อพิจารณาใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
๑.     การ พิจารณาค่าเสียหาย  ใช้หลักความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามเดิมทุกประการ ยกเว้นเป็นการขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี
๒.     คณะ กรรมการฯ จะต้องพิจารณาในเนื้อหาของการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย    แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการ มิได้บังคับว่าคณะกรรมการทั้งหมดจะ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสาธารณสุข  และตัดสินโดยการลงมติ  จะมีปัญหาในเรื่องการยอมรับ  เพราะไม่จำต้องยึกถือตามหลักวิชา*******   
๓.     ไม่ มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้กองทุนเรียกร้องหรือไล่เบี้ยจาก บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานที่สังกัด  เมือกองทุนได้จ่าย ค่าสินไหมให้แก่ผู้เสียหายแล้ว   แต่อย่างใด 
๔.     บุคลากร ต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ  ใน ฐานะเป็นคำสั่งทางปกครอง    หากไม่เห็นด้วยต้องใช้สิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วย  ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเช่นกัน      ปริมาณ การฟ้องร้องจะไม่ลดลง     
๕.     บุคลากร ทางการแพทย์ยังต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดิม ตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
๖.     อำนาจ การแต่งตั้งผู้ปฎิบัติงานมีครอบคลุมมากเกินไป โดยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของผู้ปฎิบัติงานนั้นๆอย่างชัดเจน
๗.     โค รงสร้างทางกฎหมายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในส่วน เกี่ยวกับการออกคำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่ง เงินค่าชดเชย  มีปัญหาทางเทคนิค   
๘.     กฎหมาย ฉบับนี้ ออกมาโดยเกินความจำเป็น สร้างความสับสนและบันทอนกำลังใจบุคคลากรด้าน สาธารณสุขและซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว   เป็นการ สร้างภาระให้กับสถานพยาบาล.
๙. อาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายว่าด้วยการเงิน การคลัง และวิธีการงบประมาณ ในกรณีให้กองทุนมีอำนาจเรียกเก็บเงินจาก หน่วยงานของรัฐ และเอกชน มาเข้ากองทุนและบริหารจัดการเองโดยเอกเทศ
สาระสำคัญของกฎหมาย เป็นการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้จ่ายเงินช่วยเหลือ เบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑  ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕    และให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของผู้ให้ บริหาร เข้าด้วยกัน             ขณะที่องค์ประกอบ ของคณะกรรมการผู้มีอำนาจพิจารณา มิได้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขทั้งหมด       ทำ ให้ไม่ได้การยอมรับจากบุคลากรสาธารณสุข และเป็นช่องทางให้เกิดการต่อสู้ทางคดีได้ง่าย  ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครอง (ออกคำสั่งมา  ก็ มีการไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งว่าไม่ชอบ เพราะผู้ออกคำสั่งไม่มีความรู้ความสามารถที่จะพิจารณาเรื่องการ สาธารณสุข อันเป็นกรณีเฉพาะทางวิชาชีพ ได้โดยง่าย)   พรบ.ฉบับนี้ จะสร้างปัญหาความสับสนในการบังคับใช้กฎหมาย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

***  การอธิบายเรื่องนี้ จำเป้นต้องมีความรู้พื้นฐานในกฎหมายอย่าง น้อย 4 เรื่องคือ รัฐธรรมนูญ  /ละเมือดทางแพ่ง/ละเมิดตามพรบ.ความรับผิดทางละเมือดของเจ้าหน้าที่/เงิน ช่วยเหลือเบื้งต้น ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.*****


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 12:17:41 PM
ความเกี่ยวเนื่องของกฎหมายอื่นๆ
กับ
ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
------------------

การอธิบายเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในกฎหมายอย่างน้อย 4 เรื่องคือ
1.   รัฐธรรมนูญ
2.   ละเมิดทางแพ่ง
3.   ละเมิดตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
4.   เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

รัฐธรรมนูญ
มาตรา  ๘๐(๒)  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน  รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข  โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๒๐  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา ๔๒๕  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา ๔๒๖  นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิด อันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
มาตรา ๔๔๘  สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วัน

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕
มาตรา ๔๑  ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการักษา พยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะ เวลาอันสมควร  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๒  ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา ๔๑ เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้

พระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕  หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้     ถ้าการ ละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖  ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้า หน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
มาตรา ๗  ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง หน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วม รับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้น อยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
ถ้าศาล พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไป ถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
มาตรา ๘  ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทด แทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้าย แรง
สิทธิเรียก ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึงระดับความร้าย แรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้
ถ้าการ ละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงาน ส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย
ในกรณีที่ การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

มาตรา ๙  ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความ หนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น แก่ผู้เสียหาย
มาตรา ๑๐  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้า หน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียก ร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๑  ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็น ว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับ ความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอ นั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการ วินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้อง ทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตน ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ให้หน่วย งานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปด สิบวัน หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขอ อนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน
มาตรา ๑๒  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้น ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
มาตรา ๑๓  ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตาม มาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย
หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลัก กฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสมก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใดก็จะมี การฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการ ปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น ยังมีการนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อ แต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอน กำลังขวัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดำเนิน งานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ยังมีวิธี การในการบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยกำกับดูแลอีกส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ทำการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคนมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
 
ข้อพิจารณาใน พรบ.คุ้มครองฯ
๑.     การพิจารณาค่าเสียหาย  ใช้หลักความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามเดิมทุกประการ ยกเว้นเป็นการขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี
๒.     คณะกรรมการฯ จะต้องพิจารณาในเนื้อหาของการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย    แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการ มิได้บังคับว่าคณะกรรมการทั้งหมดจะ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสาธารณสุข  และตัดสินโดยการลงมติ  จะมีปัญหาในเรื่องการยอมรับ  เพราะไม่จำต้องยึดถือตามหลักวิชา*******
๓.     ไม่มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้กองทุนเรียกร้องหรือไล่เบี้ยจาก บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานที่สังกัด  เมือกองทุนได้จ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้เสียหายแล้ว   แต่อย่างใด
 ๔.     บุคลากรต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ  ใน ฐานะเป็นคำสั่งทางปกครอง    หากไม่เห็นด้วยต้องใช้สิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วย  ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเช่นกัน      ปริมาณ การฟ้องร้องจะไม่ลดลง
๕.     บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดิม ตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
๖.     อำนาจการแต่งตั้ง ผู้ปฏิบัติงาน มีครอบคลุมมากเกินไป โดยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ของผู้ปฏิบัติงานนั้นๆอย่างชัดเจน
๗.     โครงสร้างทางกฎหมายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในส่วน เกี่ยวกับการออกคำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่ง เงินค่าชดเชย  มีปัญหาทางเทคนิค
๘.     กฎหมายฉบับนี้ ออกมาโดยเกินความจำเป็น สร้างความสับสนและบันทอนกำลังใจบุคคลากรด้าน สาธารณสุขและซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว   เป็นการ สร้างภาระให้กับสถานพยาบาล.
๙. อาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายว่าด้วยการเงิน การคลัง และวิธีการงบประมาณ ในกรณีให้กองทุนมีอำนาจเรียกเก็บเงินจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน มาเข้ากองทุนและบริหารจัดการเองโดยเอกเทศ


สาระสำคัญของกฎหมาย
เป็นการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑  ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕    และให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของผู้ให้บริการเข้าด้วยกัน   ใน
ขณะที่องค์ประกอบของคณะกรรมการผู้มีอำนาจพิจารณา มิได้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขทั้งหมด       ทำให้ไม่ได้การยอมรับจากบุคลากรสาธารณสุข และเป็นช่องทางให้เกิดการต่อสู้ทางคดีได้ง่าย  ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครอง (ออกคำสั่งมา  ก็มีการไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งว่าไม่ชอบ เพราะผู้ออกคำสั่งไม่มีความรู้ความสามารถที่จะพิจารณาเรื่องการสาธารณสุข อันเป็นกรณีเฉพาะทางวิชาชีพ ได้โดยง่าย)   พ.ร.บ. ฉบับนี้จะสร้างปัญหาความสับสนในการบังคับใช้กฎหมาย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 01:01:53 PM
ข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณวัฒโนทัย ไทยถาวร ผู้ประสานงานเทคนิคการแพทย์ ได้ร่วมกับ
1. นพ.ธงชัย  ซึงถาวร  หัวหน้าคณะทำงานศึกษาและปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข โทร. 081-379-0940
2. พญ.เชิดชู  อริยะศรีวัฒนา   ประธานคณะกรรมการศึกษาและปฏิรูประบบการแพทย์และการสาธารณสุข โทร 086-565-9985
3. พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล  รองประธานฯ  โทร. 083-249-5151
4. ทนพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร  ผู้ประสานงาน  โทร 081-565-1941, 089-484-8065


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: ddspanya ที่ กรกฎาคม 22, 2010, 05:11:16 PM
ขอรายงานข่าวสดๆร้อนๆจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ที่นัดสภาวิชาชีพแพทย์6ภาคีไปรับฟังความคิดเห็นกับท่านนายกฯในบ่ายสองโมงวันนี้  ได้ข้อสรุปว่า นายกฯรับว่าจะนำร่าง พรบ.นี้กลับไปพิจารณาใหม่ โดยเพิ่มคณะกรรมการในสัดส่วนของผู้ให้บริการให้เข้ามาช่วยดูแลข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่าเดิมที่ทางมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้วางกรอบและรายละเอียดของกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้รับบริการทางสาธารณสุขมากเกินไป โปรดติดตามข่าวต่อไป

ต้องขอขอบคุณท่านนายกทันตแพทยสภาสมัยปัจจุบัน ทพ.ศิริชัย ชูประวัติ ที่ให้ความสำคัญกับร่าง พรบ.ฉบับนี้ ส่งตัวแทนจากทันตแพทยสภาเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นร่วมกับ อีก 5 ภาคีวิชาชีพสายสาธารณสุข ที่พรรคประชาธิปัตย์ด้วย


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: หมอนันทิยา ที่ สิงหาคม 31, 2010, 08:29:33 PM
ที่จริงควรมีตัวแทนวิชาชีพทันตแพทย์เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย  เพื่อความเป็นธรรมและความครอบคลุมสมเหตุสมผล
ขอบคุณที่คุณหมอปัญญาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากค่ะ  ถ้า พ.ร.บ.นี้ออกมาโดยไม่มีการแก้ไข มันคงจะสั่นสะเทือนวงการแพทย์และสาธารณสุข จนอาจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรๆที่มากกว่าที่คิดก็ได้นะคะ


หัวข้อ: Re: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุข พ.ศ.............
เริ่มหัวข้อโดย: somsak_nong ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 10:19:16 AM
ที่ผมเข้าใจก็คือ ต่อไปนี้การรักษาพยาบาลถ้าเสียเงินเองต้องจ่ายแพงเพิ่มอีก เพราะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ออกมา   :2008: